เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

0

มีไม่บ่อยครั้งนักที่ Seiko จะเปิดประตูต้อนรับผู้มาเยือนและพาเดินชมไลน์ในการผลิตนาฬิกาชั้นเยี่ยมของพวกเขา แต่ในวันนี้ เรามีโอกาสที่จะได้สัมผัสความล้ำหน้าในการผลิตนาฬิการุ่นต่างๆ ของ ไซโก ถึงโรงงานที่จังหวัดชิโอจิริ

- Advertisement -

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

 รถไฟหัวกระสุน ชิงกันเซ็ง พาพวกเราข้ามจากจังหวัดโมริโอกะ ที่ตั้งของ Morioka Seiko Instruments Inc, ไปยังเมืองชิโอจิริ ที่ตั้งของโรงงานอีกแห่งของ Seiko ภายใต้ชื่อ Seiko Epson Corporation ภายในพื้นที่แห่งนี้ประกอบด้วยหลายส่วน ทั้งผลิตเครื่องอุปกรณ์สำนักงาน อาทิ เครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆ คอมพิวเตอร์ เครื่องสแกน จอภาพ อุปกรณ์ด้านการฉายภาพต่างๆ ฯลฯ ภายในชื่อแบรนด์ Epson ที่เราเห็นในตลาดทั่วไป

นอกจากนั้น ที่นี่ก็ยังเป็นศูนย์กลางของการผลิตนาฬิกาของ Seiko ที่รวมในส่วนของการผลิตในอุปกรณ์ GPS ของนาฬิกา Seiko Astron (ไซโก แอสตรอน), กลไกชั้นสูงอย่าง Spring Drive (สปริง ไดร์ฟ), กลไกอัจฉริยะอย่าง Kinetic (คีเนติก), นาฬิการะบบดิจิตอล, กลไกควอตซ์ชั้นสูงและกลไกจักรกลซับซ้อน

โดยเฉพาะผลงานที่ผสานระหว่างศาสตร์แห่งกลไกจักรกลซับซ้อนและศิลปะของญี่ปุ่นอย่าง Credor Spring Drive Sonnerie (เครดอร์ สปริง ไดร์ฟ ซอนเนอรี่) และ Credor Spring Drive Minute Repeater (เครดอร์ สปริง ไดร์ฟ มินิท รีพืทเตอร์) ที่นำเสียงกระดิ่งลมของญี่ปุ่นอันไพเราะมาเป็นต้นแบบของเสียงตีบอกเวลา ล้วนถือกำเนิดขึ้นภายในโรงงานแห่งนี้นี่เอง

ศูนย์กลางแห่งการผลิตนาฬิกาของ Seiko Epson Corporation ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ Shinshu Watch Studio (ชินชู วอท์ช สตูดิโอ) แบ่งออกเป็น 5 แผนกคือ Mastery “Takumi” Studio (มิสเตรี่ ทาคูมิ สตูดิโอ), Jewelry Studio (จิวเวอรี่ สตูดิโอ), Micro Artist Studio (ไมโคร อาร์ทิส สตูดิโอ), Design & Development (ดีไซน์ แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์) และ Parts production (พาร์ทส โปรดักชั่น) ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของ Complete Watch Section ซึ่งเป็นแผนกผลิตนาฬิกา Seiko Astron และส่วนที่ 3 คือส่วนการประกอบกลไกสำเร็จ (Movement Assembly Section)

แต่ก่อนที่จะไปชมภายในโรงงานอย่างใกล้ชิด เราได้ชมความน่าตื่นตาตื่นใจของผลงานบางส่วนอย่างเช่น คริสตัลควอตซ์ที่ผลิตขึ้นเองภายในโรงงาน ผลึกควอตซ์ที่ใช้ในกลไกควอตซ์ทั่วไป ไม่เฉพาะในนาฬิกาเท่านั้น แต่รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างที่มีองค์ประกอบควอตซ์ด้วย เนื่องจากแร่ควตอซ์ในธรรมชาตินั้นมีพื้นผิวที่ไม่สม่ำเสมอ ความหนาแน่นก็ไม่แน่นอน Seiko Epson

จึงผลิตคริสตัลควอตซ์สังเคราะห์ขึ้นมาใช้เอง ซึ่งมีพื้นผิวเรียบและเนื้อใส ทำให้มีประสิทธิภาพที่แน่นอนกว่าและดีกว่าแร่ควอตซ์ในธรรมชาติ ซึ่งกระบวนการผลิตเป็นการ นอกจากนี้ยังได้เผยให้เห็นถึงหลากหลายชิ้นส่วนที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาและสร้างความเที่ยงตรงให้กับกลไกทั้งจักรกลและกลไก Spring Drive ลูกผสมของจักรกลและไฟฟ้าที่เหนือชั้น

โดยเฉพาะชิ้นส่วนอย่าง Magic Lever ที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการขึ้นลานได้อย่างยอดเยี่ยม รวมไปถึงการทดสอบความเที่ยงตรงเหนือมาตรฐานของนาฬิกาชั้นสูงอย่าง แกรนด์ ไซโก ที่แยกชิ้นส่วนมาให้ดูกันชัดๆ พร้อมการสาธิตโดยให้เห็นถึงการแก้ปัญหาสู่นาฬิกาที่ได้รับการนิยามว่าเป็น “นาฬิกาที่แสดงค่าอย่างสมบูรณ์แบบและเที่ยงตรงเหมือนควอตซ์ แต่ไม่มีวันหยุดเดินเหมือนกลไกอัตโนมัติ และสวยงามในแบบ แกรนด์ ไซโก”

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

 

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

บรรยายภาพ

1.ภายในอาคารที่ดูโปร่งตาและสะอาด ก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคาร ก็ต้องเปลี่ยนใส่รองเท้าที่เตรียมไว้ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นผงหรือสิ่งสกปรกจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคารโดยไม่จำเป็น นอกจากจะลดภาระการทำความสะอาดแล้ว ยังดูมีระเบียบวินัยด้วย

2.-3.พื้นหน้าปัดซึ่งเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของผลงานที่ผลิตขึ้นภายในโรงงานแห่งนี้ มีความหลากหลายในเทคนิค และงดงามประ  ณีตอย่างยิ่ง ทั้งหน้าปัดสำหรับนาฬิกา แกรนด์ ไซโก, Astron และรุ่นอื่นๆ

4.เครื่องกลไกอัตโนมัติ คาลิเบอร์ 9S85 แหล่งพลังงานที่เที่ยงตรงสูงสุดและงดงามจับตาของ แกรนด์ ไซโก

5.กลไกควอตซ์ คาลิเบอร์ 9F62 ที่มีระบบจักรเบรกซึ่งทำให้เข็มวินาทีเดินตรงเป๊ะกับขีดเครื่องหมาย งามประณีตและประกอบด้วยมือ นี่ก็คืออีกหนึ่งเครื่องระดับสุดยอดของ แกรนด์ ไซโก ที่บ้านเราไม่ได้นำเข้ามาจำหน่าย

ในอีกด้านคือการพัฒนาเครื่องควอตซ์ให้กับ แกรนด์ ไซโก ที่ต่างจากควอตซ์ทั่วไป ไม่เพียงแต่ประณีตด้วยการประกอบมือโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้น หากยังเที่ยงตรงสูง แม้แต่เข็มวินาทีที่เคลื่อนไปในทุกวินาทีก็จะแสนดงค่าตรงกับขีดเครื่องหมายเป๊ะ ด้วยระบบ Breaking Wheel จักรเบรกที่ควบคุมให้เข็มวินาทีเดินตรงกับขีดเครื่องหมายอย่างที่ไม่อาจพบในนาฬิกาควอตซ์ทั่วไป

ในญี่ปุ่นนั้น แกรนด์ ไซโก รุ่นกลไกควอตซ์ทำตลาดได้ดีทีเดียว แต่ในเมืองไทย กลไกจักรกลอัตโนมัติเป็นที่นิยมมากกว่า ซึ่งก็ไม่น่าแปลก เพราะญี่ปุ่นเองเป็นผู้พัฒนากลไกควอตซ์ขึ้นมาเป็นเจ้าแรก และก็คือ ไซโก นี่เอง ที่คิดค้นพัฒนากลไกควอตซ์

เผยโฉมเรือนแรกของโลกในปี 1969 กับ Seiko Quartz Astron ที่ปัจจุบันพัฒนาต่อเนื่องจนกลายเป็นรุ่นสุดไฮเทคของ Astron ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียมบนท้องฟ้า เพื่อตั้งเวลาไทม์โซนและเวลาโลกได้อย่างเที่ยงตรงและสะดวกเป็นที่สุด นี่ก็เป็นอีกคอลเลกชั่นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดโลกเวลานี้ โดยเฉพาะในญี่ปุ่นและอเมริกา

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)
เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)
เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)
เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)
เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)
เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)
เดินดูไลน์ผลิต Seiko (1)

บรรยายภาพ

1.นาฬิกา แกรนด์ ไซโก ทั้งรุ่นกลไกควตอซ์ กลไกจักรกลอัตโนมัติ และกลไก Spring Drive

2.คริสตัลควอตซ์จากธรรมชาติ (ซ้าย) กับคริสตัลควอตซ์ที่ผลิตขึ้นภายในโรงงาน Epson ในชิโอจิริ (ขวา) จะเป็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

3. แยกชิ้นส่วนของกลไกอัตโนมัติ Grand Seiko ให้ชมกันแบบชัดๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนสำคัญที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ

4.Mr. Ikukiyo Komatsu ช่างนาฬิกาผู้ชำนาญด้านการซ่อมแซมกลไกชั้นสูงที่ได้ทั้งใบประกาศและรางวัลชนะเลิศจาก World Skills International Competition สาธิตให้ชมกลไกคาลิเบอร์ต่างๆ ของ Grand Seiko

5.-6.Magic Lever นวัตกรรมที่ช่วยให้การขึ้นลานมีประสิทธิภาพสูงสุด ประดิษฐ์โดย Mr. Tsuneya Kakamura

เรื่อง/ภาพ : ดิษฐาพงศ์