ใครคือ PADI ? แล้วเกี่ยวอะไรกับ Seiko ?

0

เอาเข้าจริงๆ ชื่อของ PADI ไม่ได้มีผลไรต่อการตัดสินใจควักเงินของบรรดาแฟนๆ ที่สะสม Seiko มากเท่ากับการให้สีสันที่สวยงามและรูปแบบของการดีไซน์ที่ใช้สีน้ำเงิน-แดงที่เป็น CI บนโลโก้ของ PADI ตรงนี้ต่างหากที่ทำให้คนหันมาสนใจ…ว่าแต่ว่า ใครคือ PADI ? แล้วเกี่ยวอะไรกับ Seiko ?

ใครคือ PADI ? แล้วเกี่ยวอะไรกับ Seiko ?
ใครคือ PADI ? แล้วเกี่ยวอะไรกับ Seiko ?

ใครคือ PADI ? แล้วเกี่ยวอะไรกับ Seiko ?

- Advertisement -

นับจากการเปิดตัวครั้งแรกกับ Seiko รุ่น Turtle Re-Issue ในการร่วมมือผลิตรุ่นพิเศษ หรือ Collaboration ชื่อและคอลเล็กชั่นของ PADI ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสีสันและกระแสตลาดให้กับบรรดานักสะสมกันอย่างต่อเนื่อง แต่ท่ามกลางเสียงฮือฮาของนักสะสม สิ่งที่เกิดขึ้นคือคำถามที่ว่า ‘ว่าแต่ว่า PADI คืออะไร ?’ และ ‘มีความพิเศษอย่างไร’ เชื่อว่าถึงตอนนี้ บรรดาสาวกของ Seiko บางท่านอาจจะยังรู้หรือไม่รู้กัน วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ PADI กัน

PADI เป็นชื่อย่อของหน่วยงานที่เรียกว่า Professional Association of Diver Instructor ซึ่งเป็นหน่วยงาน ชุมชนที่รวบรวมบรรดาผู้ที่ชื่นชอบการดำน้ำจากทั่วทุกมุมโลก และยังเปรียบเสมือนสถาบันในการให้ความรู้และการอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำด้วยการออกแบบคอร์สและจัดรูปแบบการเรียนในแบบที่เป็นมาตรฐานสากล และผ่านการรับรองโดยมาตรฐาน ISO ซึ่งแต่ละคนที่ผ่านการอบรมหลักสูตรจะมี PADI Certification เป็นการยืนยันถึงความรู้ และความสามารถในการผ่านการอบรม

นอกจากนั้น PADI ยังถือเป็นชุมชมของคนที่รักการดำน้ำทั่วโลกเพื่อแบ่งปันความรู้ แหล่งดำน้ำ และเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโลกใต้น้ำ โดยมีพื้นฐานอยู่บนเรื่องของความปลอดภัย และการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยว่ากันว่านี่คือชุมชนของกลุ่มคนที่รักการดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Seiko ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องนาฬิกาดำน้ำหันมาจับมือกับ PADI ในการออกคอลเล็กชั่นพิเศษ แต่อีกประเด็นที่ดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่าก็คือ ทั้งคู่ถือกำเนิดในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน

กล่าวคือ ในช่วงที่ Seiko เปิดตัวนาฬิกาดำน้ำรุ่นแรกของตัวเองออกมาในปี 1965 คล้อยหลังเพียงไม่ถึงปี หนุ่มอเมริกัน 2 คนจาก Illinois ที่ชื่นชอบการดำน้ำ ซึ่งก็คือ John Cronin เซลส์แมนขายอุปกรณ์ดำน้ำ และ Ralph Erickson ครูสอนว่ายน้ำ ได้มีโอกาสเจอกันและได้พูดคุยเรื่องอุตสาหกรรมการดำน้ำซึ่งในช่วงนั้นอยู่ในสภาวะที่น่ากังวลใจ เพราะการได้มาซึ่งใบ Cer ในการดำน้ำนั้นง่ายและสถาบันที่สอนก็ไม่มีความเข้มงวด และความเป็นมืออาชีพมากพอ

ผลคือ พวกเขาได้ร่างไอเดียต่อหน้าขวด Johnny Walker Black Label ในการก่อตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อสอนและให้ความรู้เกี่ยวกับการดำน้ำ พร้อมกับยืนยันว่าชื่อหน่วยงานจะต้องมีคำว่า Professional เข้าไปอยู่ด้วยเพื่อแสดงถึงความจริงจัง และความเป็นมืออาชีพในการทำงาน ผลคือ การได้ชื่อหน่วยงานนิ้อย่าง PADI ขึ้นมา

ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา PADI กลายมาเป็นหน่วยงานด้านการดำน้ำที่ได้รับความเชื่อถือในด้านมาตรฐานมากที่สุดในโลก มีศูนย์การดำน้ำมากกว่า 6,300 แห่งทั่วโลก และมีครูสอนการดำน้ำที่ผ่านหลักสูตรการสอนของ PADI มากกว่า 136,000 คน และตลอดการดำเนินงานมามีการมอบใบ Certification ให้กับคนที่ผ่านการอบรมที่นี่แล้วมากกว่า 24 ล้านใบเลยทีเดียว

และนี่คือ เหตุผลที่ทำไม Seiko ซึ่งอยู่ในวาระครอบรอบ 50 ปีของการผลิตนาฬิกาดำน้ำถึงเลือก PADI มาเป็นพันธมิตรในการสร้างคอลเล็กชั่นพิเศษขึ้นมา และเปิดตัวครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2016 กับ 2 รุ่น คือ SRPA21 หรือรุ่น Turtle Re-Issue ที่ใช้กลไกอัตโนมัติ และอีกรุ่นเป็นตัว Kinetic GMT ในรหัส SUN065 ก่อนที่ทั้งคู่จะทยอยเปิดตัวผลผลิตใหม่ๆ จากความร่วมมือนี้ออกมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันรวมแล้ว 8 รุ่นด้วยกันจนถึงตอนนี้

คำถามชิงเงินล้านของแฟน Seiko คือ แล้วอนาคตดีไหม ?

ผมเชื่อว่าคำถามนี้เกิดขึ้นเสมอกับแฟนๆ ของ Seiko ที่เป็นนักสะสมและอาจจหวังผลในอนาคตกับราคาที่พุ่งขึ้น แต่ก่อนอื่นคงต้องถามกลับว่า PADI คือ อะไร และมีแรงกระตุ้นมากพอขนาดไหนที่จะทำให้คนสนใจ แน่นอนว่าชื่อของPADI อาจจะดังในโลกของการดำน้ำ และในชีวิตประจำวันทั่วไป ชื่อนี้อาจจะไม่คุ้นหูเลยเสียด้วยซ้ำ และหลายคนก็เพิ่งจะมายินเอาตอนที่เปิดตัวรุ่นพิเศษกับ Seiko นั่นแหละ

ดังนั้น ในแง่ของคนทั่วไปที่สะสม ผมประเมินและคิดแทนว่า ปัจจัยที่ทำให้ช่วงแรกขายดีคือ พวกเขาเลือกที่จะซื้อเพราะความสวยงามที่แตกต่างจากรุ่นปกติ มากกว่าอิทธิพลที่มาจากชื่อของ PADI ส่วนประเด็นคำถามที่ว่า อนาคตในการเก็บที่จะสดใสไหม ? คำตอบคือ อาจจะยาก ณ ตอนนี้ เพราะหลังจากผ่านมาเกือบครึ่งปีที่ทำตลาด PADI ก็เป็นแค่ Special Edition ที่เรายังสามารถหาได้ตามร้านปกติ และยังไม่มีวี่แววว่าจะกลายเป็นของหายาก แถมราคายังลดลงจากช่วงแรกที่เปิดตัว ดังนั้นคำว่า ‘หล่อก่อนเจ็บตัวก่อน’ จึงใช้ได้กับรุ่นนี้

สำหรับ 2 รุ่นที่ผลิตออกมาและเป็น JDM สำหรับตลาดญี่ปุ่นนั่นคือ MM300 ตัวคอวตซ์ที่เป็น Tuba Can และ Sumo แม้ว่าจะมีการผลิตจำกัด และรันหมายเลขกำกับด้วย แต่เอาเข้าจริงๆ ช่วงปลายปีที่แล้ว ตอนที่เริ่มรับ Pre-Order ผมก็ยังสามารถสั่งจองได้ตามปกติ ในราคาปกติที่ไม่ได้โดนโก่งอะไร แถมยังได้ส่วนลดอี่กด้วย ยกเว้นในกรณีของ Sumo ที่ถูกกวาดอย่างรวดเร็ว (แต่ก็ยังไม่เร็วพอที่จะเกิดกระแสกลายเป็นของหายาก) แต่ก็ไม่รู้ว่าเกือบทั้งหมดถูกกวาดต้อนมาเมืองไทยหรือเปล่า เพราะช่วงนี้มีวางขายกันละลานตาเต็มไปหมด

และถ้าถามถึงอนาคต เชื่อว่า Sumo PADI น่าจะดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับไลน์อัพที่เปิดตัวมาทั้งหมดจนถึงตอนนี้ เพราะแม้ว่าจำนวนผลิตจะมากกว่า Tuna Can แต่ด้วยความที่มันป็นนาฬิกาอัตโนมัติ ความนิยมและความเชื่อของคนส่วนใหญ่ก็มักจะเทไปทางนี้ มากกว่านาฬิกาควอตซ์

เอาเป็นว่าถ้าคุณได้มาในระดับราคาที่แพงจากรุ่นปกติไม่มาก สัก 30-40 % มันก็น่าสนที่จะลองหันมาคบกับรุ่นพิเศษที่แตกต่างออกไป แต่ถ้าคิดว่าจะหวังเก็บยาวแล้วเอาไว้ขายในอนาคต ถ้าให้นั่งเทียนเดาคือ ได้เก็บยาวแน่ๆ เพราะตอนนี้ยังไม่มีวี่แววว่าของเก่าที่เปิดตัวออกมาก่อนหน้านี้จะราคาขึ้นเลย

ยกเว้นรุ่น SRPA83K1 ที่ใช้บอดี้ของตัว Baby Tuna 50 ปี ซึ่งฝาหลังมีการสลักคำว่า Edition ผิด เป็น Editoin…อันนี้อาจจะพอมีราคาขึ้นมาบ้าง เพราะคนที่ซื้อไปแล้วบางคนไม่ยอมไปเปลี่ยนฝาใหม่นั่นเอง

  • Seiko Prospex SRPA21 Turtle Re-Issue
  • Seiko Prospex Kinetic GMT  SUN065
  • Seiko Prospex SNE435P
  • Seiko Prospex SBDJ015
  • Seiko Prospex SBDN035
  • Seiko Prospex SBDC049 Limited 1,000 เรือน
  • Seiko Prospex Marine Master 300m Quartz SBBN039 Limited 700 เรือน
  • Seiko Prospex SRPA83K1

Fanpage : https://www.facebook.com/anadigiwatch