หลังจากที่บ้านเราเปิดเผยราคาออกมาแล้วเชื่อว่าแฟนๆ ไซโก้ Sumo อาจจะอยากทราบถึงสเป็กของตัว Sumo Chronograph ว่าเป็นอย่างไร และแตกต่างกับรุ่น Automatic อย่างไร วันนี้เราเลยจับมาเปรียบเทียบให้ดูกันครับ
Seiko Sumo เปรียบเทียบ Chronograph Vs Automatic
-
เปรียบเทียบสเป็กอย่างเป็นทางการของ Seiko Sumo Chronograph Vs Automatic ซึ่งในบ้านเราเพิ่งเปิดตัวรุ่น Chronograph ออกมา
-
แม้ว่าจะมีอยู่ในคอลเล็กชั่นเดียวกัน แต่ทั้ง 2 รุ่นใช้กลไกแตกต่างกัน คือ ควอตซ์ SOLAR และอัตโนมัติ
-
ราคาแตกต่างกันโดยอยู่ที่ 25,400-27,400 บาทสำหรับรุ่น Chronograph และ 32,700 บาทสำหรับรุ่นอัตโนมัติ
เราได้รู้ราคาของ Sumo Chronograph ที่จะเปิดตัวออกมาแล้ว และเมื่อดูจากรูปทรง หลายคนเชื่อว่า ขนาดไม่น่าจะทิ้งกัน ใช่ เรากำลังจะบอกว่าเมื่อจับเอา Seiko Sumo เปรียบเทียบ Chronograph Vs Automatic มาดูแค่ภาพจะแทบไม่เห็นความแตกต่างในแง่รูปทรงและน่าจะส่งผลต่อขนาด แต่เมื่อดูจากสเป็กที่ทาง Seikoเปิดเผยออกมานั้น จะพบว่ามีความแตกต่างอย่างชัดเจน
รุ่นที่ทำตลาด : ณ ตอนนี้มีเท่ากันคือ 2 รุ่นย่อย แต่สำหรับ Sumo Chronograph จะได้เปรียบนิดหนึ่งตรงที่เราทราบกันแล้วว่าทาง Seiko จับเอานาฬิการุ่นนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Black Series รุ่นใหม่ ขณะที่ Sumo Automatic ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ออกมาในตอนนี้
รุ่น Sumo Chronograph
รุ่น Sumo Automatic
Sumo Chronograph | Sumo Automatic | |
JDM Code | SBDL061 (ดำ) / SBDL063 (น้ำเงิน) / SBDL065 (Black Series) | SBDC081 (เขียว) / SBDC083 (ดำ) |
ราคา (ในญี่ปุ่น) | 71,000 เยน / 66,000 เยน / 83,600 เยน | 85,000 เยน |
Inter Code | SSC757J (ดำ) / SSC759J (น้ำเงิน) | SPB101J (ดำ) / SPB103J (เขียว) |
ราคา (ในไทย) | 27,400 บาท / 25,400 บาท | 32,700 บาท |
มิติตัวเรือน : ตรงนี้คือ สิ่งที่เห็นความแตกต่างเมื่อดูจากรายละเอียดของตัวเลข ซึ่งเราเอามาเปรียบเทียบให้เห็นจุดต่อจุด จะพบว่าขนาดของตัวเรือนในรุ่น Sumo Chronograph จะเล็กกว่าในแง่ของเส้นผ่านศูนย์กลางตัวเรือน และ Lug to Lug แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไร โดยรวมแล้วไม่ถึง 1 มิลลิเมตร แต่ความหนาจะมีมากกว่ารุ่น Sumo Automatic ดูแล้วใครที่มีข้อมือเล็กในระดับต่ำกว่า 6.5 นิ้ว งานนี้ไม่น่าจะรอด นอกจากจะไม่แคร์เรื่องอาการ ‘กาง’ บนข้อมือ
Sumo Chronograph | Sumo Automatic | Diff | |
เส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.) | 44.5 | 45 | -0.5 |
Lug to Lug (มม.) | 51.6 | 52.55 | -0.95 |
ความหนา (มม.) | 13.65 | 12.85 | +0.8 |
ความกว้างขาสาย (มม.) | NA | 20 | – |
น้ำหนัก (กรัม) | 187 | 188 | -1 |
กลไก : ชัดเจนอยู่แล้วว่า ในรุ่น Sumo Chronograph จะมากับกลไกที่แตกต่างจากที่ Sumo Series เคยมี และถือเป็นครั้งแรกที่เราจะได้เห็น Sumo จับคู่กับกลไกควอตซ์ (แต่ชาร์จพลังงานเข้าสู่แบตเตอรี่ด้วยแสงอาทิตย์ หรือ SOLAR) โดยกลไกของ Sumo Chronograph จะเป็นรหัส V192 ที่บ้านเราคุ้นเคยกันมาแล้วใน Prospex Sky บางรุ่นที่ขายอยู่ช่วงหนึ่ง
Sumo Chronograph | Sumo Automatic | |
รหัสกลไก | V192 | 6R35 |
จำนวนทับทิม | – | 24 |
ความถี่ | 32,768 Hz | 21,600 ครั้งต่อชั่วโมง |
การสร้างพลังงาน | แสงอาทิตย์ | ขึ้นลานมือ / เคลื่อนไหวข้อมือ |
สำรองพลังงาน (ชั่วโมง) | 6 เดือนในกรณีที่ใช้งานน้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง | 70 |
ความเที่ยงตรง | +/- 15 วินาที/เดือน | +25 ถึง – 15 วินาที/วัน |
รายละเอียดอื่นๆ : ทั้ง 2 รุ่นมีความสามารถในการกันน้ำเท่ากันที่ 200 เมตร และใช้กระจก Sapphire ส่วนฝาหลังเป็นแบบขันเกลียว
Fanpage : https://www.facebook.com/anadigionline/