มาทำความรู้จักกับ Seiko Prospex SBDC061/63

0

เริ่มขายในญี่ปุ่นแล้วสำหรับ Seiko Prospex SBDC061 / 63 ซึ่งเราเชื่อว่าหลายคนอาจจะสงสัยว่ามันคือนาฬิกาที่มีที่มาอย่างไร และราคาอยู่ที่เท่าไร วันนี้เรามาไขข้อสงสัยในรายละเอียด รวมถึงสเป็กของนาฬิกาเรือนนี้กัน

Seiko Prospex SBDC061/63
มาทำความรู้จักกับ Seiko Prospex SBDC061/63

มาทำความรู้จักกับ Seiko Prospex SBDC061/63

- Advertisement -

ถึงตอนนี้เชื่อว่าใครหลายคนอาจจะเริ่มตั้งคำถามว่า Seiko Prospex SBDC061/SBDC063 ที่เพิ่งเปิดตัววางขายในญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้น คือนาฬิการุ่นอะไร และน่าสนใจขนาดไหน วันนี้เรามาทำความรู้จักกับนาฬิการุ่นนี้กัน

การทำงานแบบซ้ำรอยเดิม (อีกแล้ว) : ถ้ายังจำกันได้ เรามักจะพูดถึงเสมอถึงเรื่องของการทำอะไรแบบซ้ำๆ ลูปเดิมของ Seiko ซึ่งมีให้เห็นอยู่เสมอ ซึ่งเมื่องาน Basel World 2017 พวกเขาเปิดตัวรุ่น SLA017 ออกมาเพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีของการผลิตนาฬิกาดำน้ำเรือนแรกของตัวเองที่เปิดตัวเมื่อปี 1967 โดยนอกจากจะมีตัวท็อปแบบผลิตจำกัดที่เมื่อเข้ามาบ้านเราแล้วราคา 144,000 บาท ก็ยังมีตัวที่เป็น Poor Man เพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ (หรือจะได้มีมุขอะไรใหม่ๆ ในการขาย) นั่นคือมีหน้าตาคล้ายๆ กัน แต่สเป็กต่ำกว่า และขายในระดับราคาที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ นั่นคือ SBDC051 และ SBDC053 (รหัส International Version SPB051/SPB053) และในปีนี้ Seiko ก็ยังทำเหมือนเดิมนั่นแหละ

ในปี 2018 พวกเขาเปิดตัวรุ่น SLA025 / SBEX007 ที่มาพร้อมกับการฉลองครบรอบ 50 ปีของการผลิตนาฬิกาดำน้ำแบบ Monocase+กลไก Hi-Beat และดำน้ำได้ 300 เมตรรุ่นแรกอย่าง 6159-7001 ที่ออกวางขายเมื่อปี 1968 (ซึ่งในเวลาต่อมากลายเป็นรุ่น SBDX001  หรือ SBDX017 ที่เราเรียกกันว่า MM300) และแน่นอนว่านอกจาก SLA025 / SBEX007 ก็มีเวอร์ชัน Poor Man ออกมาขายด้วยนั่นคือ SBDC061 และ SBDC063 พร้อมกลไก 6R15 กับราคาวางในระดับ 100,000 เยน (เหมือนกับ SBDC051 และ SBDC053)

Seiko Prospex SBDC061/63
มาทำความรู้จักกับ Seiko Prospex SBDC061/63

-Poor Man สำหรับคนงบน้อย : อย่างที่บอกว่า SBDC061 และ SBDC061 เป็นการจำลองความคล้ายของรายละเอียดบางจุดมาจาก SLA025/SBEX007 ซึ่งเราจะเห็นได้จากหน้าตาของหน้าปัด ที่ใช้หลักชั่วโมงเป็นทรงกลม ตัวเลขบนขอบ Bezel ที่มีลักษณะฟอนต์ค่อนข้างบาง และรูปทรงของตัวเรือน แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า SBDC061 จะถอดแบบออกมาทั้งหมด เพราะด้วยราคาตั้งที่อยู่ในระดับ 90,000-110,000 เยนนั้น ทำให้หลายอย่างเปลี่ยนไป เช่น ตัวเรือนเป็นแบบมีฝาหลัง ไม่ใช่ Monocase รูปแบบของเข็มชั่วโมง นาที และวินาที ซึ่งเชื่อว่าเอามาจากรุ่น SBDC051/SBDC053 และที่สำคัญคือ การใช้กลไก 6R15 ไม่ใช่ตัวเทพ 8L55 แบบ Hi-Beat

 

SBDC061/SBDC063 SLA025J1/SBEX007
เส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.) 44 44.8
Lug-2-Lug (มม.) 51 51.4
ความหนา (มม.) 13.1 15.7
กลไก 6R15 8L55
การสำรองพลังงาน (ชม.) 50 55
การกันน้ำ (ม.) 200 300
ราคา (เยน) 90,000-110,000 550,000
ผลิต ไม่จำกัด 1,500 เรือน
Seiko Prospex SBDC061/63
มาทำความรู้จักกับ Seiko Prospex SBDC061/63

-มีขาย 2 รหัส : ถ้ายังจำกันได้กับรุ่น SBDC051/SBDC053 รวมถึงนาฬิกาบางรุ่นของ Seiko พวกเขามักจะมี 2 รหัสเอาไว้ขาย โดยเป็นเวอร์ชัน JDM และ International Version ซึ่งในรุ่นนี้ก็เช่นเดียวกัน พวกเขาจะขายในญี่ปุ่นด้วยรหัส SBDC061 สำหรับหน้าดำสายเหล็ก และ SBDC063 สำหรับหน้าน้ำเงินสายยาง ส่วนตลาดต่างประเทศรวมถึงเมืองไทย ถ้าเป็นของที่ขายผ่านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการจะมากับรหัส SPB077 สำหรับสายเหล็ก และ SPB079 สำหรับสายยาง ซึ่งสเป็กและหน้าตาทุกอย่างเหมือนกัน ยกเว้นพวก Package และ Tag ต่างๆ ที่ดูเหมือนว่าของ Japan จะมีป้ายอะไรต่อมิอะไรให้เยอะกว่า ไม่ต้องสับสนสำหรับคนที่สงสัยในประเด็นนี้

-ราคาในไทย : เชื่อว่าคงไม่ต่างจำ SBDC051/SBDC053 ที่เมื่อเข้าถึงเมืองไทยแล้ว ทำเอาแฟนๆ ถึงกับจุกอก เพราะราคาป้ายตั้งเอาไว้ในระดับบวกลบ 40,000 บาท ขณะที่ของหิ้วมีราคาเพียง 25,000-27,000 บาท ซึ่งเมื่อดูราคาตั้งจากป้ายของญี่ปุ่นที่ทั้ง SBDC061/SBDC063 อยู่ในระดับเดียวกัน ดังนั้นเชื่อว่า ราคาป้ายในไทยของรุ่นนี้ที่จะเข้ามาขายในรหัส SPB077/SPB079 นั้น ก็น่าจะอยู่ในระหว่าง 39,000-44,000 บาทเหมือนเดิม คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับส่วนลด และโปรโมชั่นบัตรของแต่ละท่านแล้วว่าจะทำให้ราคาลดลงไปได้มากขนาดไหน