หลังจากเปิดตัวในปี 2018 ตอนนี้ Black Series ของ Seiko Prospex มีเปิดตัวออกมาอย่างต่อเรื่อง และล่าสุดก็เพิ่งเปิดตัวเจนเนอเรชั่นที่ 4 ออกมา วันนี้เรามาทำความรู้จักกับนาฬิการุ่นนี้กัน
มาทำความรู้จักกับ Seiko Prospex Black Series
เชื่อว่าตอนนี้ Black Series ของ Seiko กลายเป็นอีกชื่อที่ถูกนึกถึงสำหรับบรรดาแฟนๆ ของแบรนด์ เพราะตอนนี้ทาง Seiko ได้เปิดตัวเจนเนอเรชั่นใหม่ของนาฬิการุ่นนี้ออกมาแล้ว และพร้อมขายในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ โดย Black Series รุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวออกมามีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของรุ่นนาฬิกา และแนวทางในการสร้างสรรค์ที่แตกต่างจาก 3 เจนเนอเรชั่นที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีความน่าสนใจอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Black Series ของ Seiko กันก่อนว่าคืออะไร ?
ในช่วงปลายปี 2017 ทาง Seiko ได้ยิงทีเซอร์เพื่อแนะนำคอลเล็กชั่นใหม่ออกสู่ตลาด ซึ่งในช่วงนั้นยังไม่มีใครรู้ว่ามันคืออะไร จนกระทั่งเมื่อเขาสู่ช่วงเดือนมกราคม 2018 ปริศนาก็ได้ถูกเผยออกมา และชื่อที่ถูกนำมาใช้คือ Black Series โดยมีการผลิตขึ้นเฉพาะนาฬิกาดำน้ำในกลุ่ม Prospex เท่านั้น
นิยามของ Black Series ถูกสร้างสรรค์ตามจินตนาการในการนำเสนอความงดงามอันมืดมิดของใต้ท้องทะเลในยามค่ำคืนที่มีเพียงแค่แสงไฟจากไฟฉายของนักดำน้ำเท่านั้นที่เป็นเครื่องนำทาง โดยสิ่งเหล่านี้ได้ถูกสะท้อนผ่านการนำเสนอรายละเอียดบนตัวเรือน สาย หน้าปัด และชุดเข็มของตัวนาฬิกา
ซึ่งที่ผ่านมา นาฬิกาทุกเรือนในคอลเล็กชั่นนี้จะมากับการเคลือบดำแบบ Hard Black Coating ใช้สายยางสีดำ และมีจุดเด่นอยู่ที่เข็มนาที ซึ่งเป็นสีส้ม ที่มีความหมายถึงแสงที่เกิดขึ้นจากไฟฉายของนักดำน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งแสงสว่างเพียงอย่างเดียว อีกทั้งสีส้มยังเป็นสีที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนเวลาอยู่ใต้น้ำ Seiko จึงนำมาใช้กับเข็มนาที ที่มีความสำคัญต่อนักดำน้ำในการช่วยจับเวลาที่อยู่ใต้น้ำ
นาฬิการุ่นนี้เป็นแบบ Limited Edition ที่มีการระบุจำนวนการผลิตที่ชัดเจน ดังนั้น ด้วยความสวยบวกกับตัวเลขที่ผลิตจำกัด จึงทำให้เป็นที่หมายปองของบรรดานักสะสม โดยเฉพาะรุ่นที่หมดแล้วอย่างเต่าดำ SRPC49K1 สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มหันมามองคอลเล็กชั่นนี้ และทำความรู้จัก ลองอ่านจากบทความนี้ได้เลยครับ
เจนเนอเรชั่นแรก เปิดตัวปี 2018
รุ่นที่จำหน่าย : Turtle-SRPC49K1, Solar Diver- SNE493P1 และ Solar Diver Chronograph- SSC673P1
รุ่นที่ผลิตขายมีทั้ง Turtle Re-Issue ซึ่งใช้รหัสว่า SRPC49K1 ตามด้วยรุ่น Solar Diver Chronograph ในรหัส SSC673P1 และรุ่นสุดท้ายเป็น Solar Diver แบบ 3 เข็มในรหัส SNE493P1 คอนเซ็ปต์ของการออกแบบคือ มีการเคลือบดำในแบบ Hard Black Coating เพื่อสะท้อนถึงความมืดมิดของใต้ท้องทะเล และตัดกับเข็มนาทีสีส้ม ซึ่งจะเป็นสีสุดท้ายที่คุณจะได้เห็นเวลาลงสู่ใต้ท้องทะเลลึก แถมพรายน้ำบนมาร์คเกอร์หน้าปัดยังทำออกมาในสไตล์วินเทจ คล้ายกับพรายน้ำแบบ Tritium ที่หมดอายุ
แม้จะมีการพิมพ์คำว่า Limited Edition เอาไว้ที่ฝ่าหลัง แต่ก็ไม่ได้ระบุจำนวนผลิตแบบชัดเจน ยกเว้นรุ่น Turtle ซึ่งในญี่ปุ่นจะมีการผลิตออกมาเพียง 300 เรือนด้วยรหัส SBDY005 ซึ่งความพิเศษจะอยู่ที่กล่อง และช่อง Day หรือวันประจำสัปดาห์จะใช้ตัวคันจิแทนที่ภาษาอังกฤษ
เจนเนอเรชั่นที่ 2 เปิดตัวปี 2020
รุ่นที่จำหน่าย : SBDC095/SPB125J1, SBDL065/SCC761J1 และ SBDX033/SLA035J1
สิ่งที่แตกต่างจากรุ่นที่ผ่านมาคือ Seiko ขยับตลาดขึ้นสูงกว่าเดิม ด้วยการนำนาฬิการุ่น Sumo ใหม่มาทำคอลเล็กชั่นนี้ โดนมีทั้งรุ่น 3 เข็มและรุ่น Solar Chronograph โดยที่แตกต่างออกไปอีกคือ จับ MarineMaster 300 หรือ MM300 มาเพิ่มเป็นอีกทางเลือกในแบบ 2+1 และเป็นการผลิตในแบบจำกัดจำนวนเหมือนเดิม
สำหรับ SBDX033/SLA035J1 จะแปลกกว่าเพื่อน โดยมีหน้าตาที่ไม่ได้ยึดคอนเซ็ปต์ของ Black Series โดยมากับตัวเรือนดำ แต่พรายน้ำเป็นสีปกติ และเข็มนาทีก็ยังเป็นสีปกติไม่ได้เป็นสีส้มเหมือนกับนาฬิกาในคอลเล็กชั่นี้ การผลิตมีเพียง 600 เรือนทั่วโลก ส่วน Sumo แบบโครโนกราฟ ที่มากับรหัส SBDL065/SCC761J1 และ Sumo แบบ 3 เข็มที่ใช้กลไก 6R35 หรือ SBDC095/SPB125J1 ซึ่งรุ่น 3 เข็มจะผลิต 7,000 เรือน ส่วนรุ่น Solar จะผลิตเพียง 3,500 เรือน โดยทุกรุ่นจะมีการสลักหมายเลขเอาไว้ที่ฝาหลัง
เจนเนอเรชั่นที่ 3 เปิดตัวปี 2021
รุ่นที่จำหน่าย : Samurai-SRPH11K1, Monster-SRPH13K1 และ SNE577P1-Tuna Solar
ยังคงคอนเซ็ปต์ตัวเรือนรมดำ พร้อมสายยาง ขณะที่บนหน้าปัดจะมีเข็มนาทีเป็นสีส้มซึ่งช่วยให้ดูสวยและมีประโยชน์ในเรื่องของการจับเวลา โดยเฉพาะความเด่นในเวลาดูใต้น้ำท่ามกลางความมืด สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ของ Black Series ที่มีแนวคิดมาจากการออกแบบนาฬิกาให้สอดคล้องกับสภาพอันมิดใต้ท้องทะเลในยามค่ำคืน
- SRPH11K1 ที่อยู่บนพื้นฐานของรุ่น Samurai ผลิต 8,000 เรือนตัวเรือนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร พร้อม Lug to Lug 48.8 มิลลิเมตร กระจกเป็นแบบ Hardlex และขอบตัวเรือนยังใช้อินเสิร์ตที่เป็นอะลูมิเนียม ไม่ได้พัฒนาบนพื้นฐานของรุ่น King Samurai โดยกลไกที่ติดตั้งเป็นรหัส 4R35 ที่มีกำลังสำรอง 41 ชั่วโมง
- SRPH13K1ที่ใช้พื้นฐานของ Monster ผลิต 7,000 เรือน ตัวเรือนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตรพร้อม Lug to Lug 49.4 มิลลิเมตร ใช้กลไก 4R36 แบบ Day/Date และมีกำลังสำรอง 41 ชั่วโมง
- SNE577P1ใช้พื้นฐานของ Solar Tuna ผลิต 5,000 เรือน ตัวเรือนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 มิลลิเมตรพร้อม Lug to Lug 45.8 มิลลิเมตร ขับเคลื่อนด้วยกลไกควอตซ์ Solar แบบสร้างกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ในรหัส V157 และมีความเที่ยงตรงระดับ +/-15 วินาทีต่อเดือน และเมื่อชาร์จจนเต็มสามารถอยู่ได้นานแบบไม่โดนแสงได้ถึง 10 เดือน
เจนเนอเรชั่นที่ 4 เปิดตัวปี 2022
รุ่นที่จำหน่าย : SPB253J1/SBDC153, SPB255J1/SBDC155, SPB257J1/SBDC157 และ SLA061J/SBDX051
สำหรับ Seiko Prospex The Black Series 2022 จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเหมือนกับปี 2020 โดยจะมีรุ่นธรรมดาและรุ่นท็อป โดยทั้งหมดถูกสร้างขึ้นภายในคอนเซ็ปต์ในการนำตัว Re-Issue หรือ Re-Interpretation ของนาฬิกาดำน้ำที่ถือเป็น Milestone ของ Seiko ในแต่ละช่วงมาทำ ซึ่งทั้ง 3 ช่วงก็คือ 1965, 1968 และ 1970 โดยทุกรุ่นในส่วนนี้จะขับเคลื่อนด้วยกลไก 6R35 ที่มีกำลังสำรอง 70 ชั่วโมง โดยในเซ็ตจะมีทั้งสายผ้า NATO อย่างดี พร้อมกับสายยางอยู่ในเซ็ต
- SPB253J1 (ตลาดโลก) / SBDC153 (ญี่ปุ่น) : เป็น Re-Intrepretation ของ The First Diver จาก Seiko ซึ่งตัวนาฬิกามาพร้อมกับความสวยงามตามคอนเซ็ปต์มีขนาดตัวเรือน 40.5 มิลลิเมตร ผลิตจำนวน 5,500 เรือน มีขายเฉพาะในญี่ปุ่น 500 เรือน และมีราคาอยู่ที่ 143,000 เยน
- SPB255J1 (ตลาดโลก) / SBDC155 (ญี่ปุ่น) : เป็นตัวแทนของนาฬิกาดำน้ำแบบ Hi-Beat รุ่นแรกที่เปิดตัวในปี 1968 มีขนาดตัวเรือน 42 มิลลิเมตร ผลิตจำนวน 5,500 เรือน มีขายเฉพาะในญี่ปุ่น 300 เรือน โดยมีราคาเท่ากับ SBDC153
- SPB257J1 (ตลาดโลก) / SBDC157 (ญี่ปุ่น) : เป็นตัวแทนของนาฬิกาดำน้ำรุ่นดังอย่างตะพาบ หรือ Captain Willard ที่เปิดตัวในปี 1970 โดยรุ่นนี้เป็น Re-Interpretation มีขนาดตัวเรือน 42.7 มิลลิเมตร ผลิตจำนวน 5,500 เรือน มีขายเฉพาะในญี่ปุ่น 300 เรือน และมีราคาอยู่ที่ 154,000 เยน
ส่วนอีกรุ่นถือเป็น Top of the line มากับรหัส SLA061J สำหรับตลาดโลก ส่วนตลาดญี่ปุ่นจะใช้รหัส SBDX051 ซึ่งเป็นการนำตัว Re-Issue ของตะพาบ นาฬิกาสุดคลาสสิกรุ่นดังที่เปิดตัวในปี 1970 มาทำ คราวนี้มากับสายสตีลรมดำ ขับเคลื่อนด้วยกลไก 8L35 ของ MM300 และมีกำลังสำรอง 50 ชั่วโมง โดยการผลิตจะอยู่ที่ 1,000 เรือนและขายในญี่ปุ่น 100 เรือนกับราคา 363,000 เยน
Fanpage : https://www.facebook.com/anadigionline/