Seiko New Sumo ต่างจากรุ่นเก่า SBDC031/SBDC033 ตรงไหน

0

นาฬิกาที่อยู่ในกระแสความสนใจของคนไทยมากที่สุด ณ วินาทีนี้คือ การเปิดตัว Sumo ใหม่ของ Seiko ที่จะยังไม่มีข้อมูลให้เช็คอย่างเป็นทางการว่าจะมากับรหัส SPB101J1 / SPB103J1 หรือ SPD101J1 / SPD103J1 กันแน่ แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันต่างกันอย่างไร วันนี้เรามีบทความเปรียบเทียบคร่าวๆ มาให้อ่านกันครับ

Seiko New Sumo
New Sumo ต่างจากรุ่นเก่า SBDC031/SBDC033 ตรงไหน

Seiko New Sumo ต่างจากรุ่นเก่า SBDC031/SBDC033 ตรงไหน

  • Seiko เปิดตัว Sumo ใหม่

  • มากับกลไกใหม่ในรหัส 6R35 และกระจก Sapphire

  • เริ่มวางขายในเดือนกรกฎาคม

- Advertisement -

จริงอยู่ที่ไฮไลท์ของงาน Basel World 2019 จากค่าย Seiko คือ การเปิดตัวผลผลิตใหม่อย่าง 1970 Recreation Diver และ Prospex LX Line แต่เอาเข้าจริงๆ ที่อยู่ในกระแสความสนใจของแฟนๆ Seiko ชาวไทยคือ การเปิดตัว Sumo และ Monster ใหม่มากกว่า และดูเหมือนว่าข้อมูลในส่วนนี้จะเล็ดรอดออกมาทางอินเตอร์เนตน้อยนิด แต่ก็ไม่ถึงกับน้อยจนเกินไปถึงขนาดที่จะไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบให้แฟนๆ ของ Ana-Digi.com อ่านกัน
เอาละในวันนี้ ขอเริ่มที่ประเด็นของ Seiko Sumo กันก่อนนะครับว่ามีความแตกต่างจากรุ่นเดิมอย่างไร
รหัสรุ่น : อันนี้เป็นปัญหาโลกแตก เพราะด้วยความที่ Sumo ใหม่ไม่ใช่รุ่นหลักในการเปิดตัวที่ Basel World 2019 แค่นำมาจัดแสดงเหมือนกับอีกหลายๆ รุ่น เช่น Monster และ New Arnie มันก็เลยขาดข้อมูลข่าวที่เป็น Press Release อย่างเป็นทางการออกมา ซึ่งในเรื่องของรหัสรุ่นนั้น ก่อนหน้านี้มีข่าวหลุดออกมาจาก Instagram ที่ชื่อว่า Seikoleak มีการยืนยันว่า Sumo ใหม่จะมีรหัสที่เป็น International Version คือ SPD101J สำหรับสีดำ และ SPD103J สำหรับสีเขียว แต่สุดท้ายมีเว็บข่าวนาฬิกาเปิดเผยเรื่องราวของนาฬิการุ่นนี้พร้อมภาพ Studio Shot ที่เป็นทางการ และบอกว่า Sumo ใหม่ใช้รหัส SPB101 และ SPB103 ต่างหาก งานนี้เราก็เลยยังไม่ขอคอนเฟิร์มว่าเป็นรหัสไหนกันแน่ เพราะขาดข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้รีเช็คอีกครั้ง
ตัวเรือนและสาย : ตรงนี้มีข้อมูลมาให้น้อยมาก เพราะสเป็กที่เปิดเผยออกมานั้นมีแค่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งก็คือ 45 มิลลิเมตรเท่านั้น ขณะที่ในเรื่องความหนาและ Lug to Lug ของ Sumo ใหม่ ยังไม่มีการเปิดเผยออกมา ดังนั้นเราจึงลองนำภาพมาเปรียบเทียบกับดูระหว่างรุ่นใหม่ล่าสุด กับรุ่นเก่าจะพบว่ารูปทรงและการขัดแต่งมีความคล้ายคลึงกันมาก ดังนั้น โอกาสที่ทั้ง 2 รุ่นจะใช้ตัวเรือนเดียวกัน ส่วนสายนั้นมีลวดลายเหมือนกับ SBDC031/033 ที่ขายอยู่ แต่อาจจะแตกต่างในเรื่องของการขัดแต่งและขัดเงาบนสาย ดังนั้น เราคิดว่ามีสูงถึง 90% ส่วนอีก 10% ที่เผื่อไว้ก็คือ กันพลาด เพราะว่า Seiko ยังไม่เปิดเผยภาพมุมอื่นๆ ของ Sumo ใหม่ออกมาให้เปรียบเทียบเลยในตอนนี้

รายละเอียด      

New Sumo

SBDC031/SBDC033

เส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.)

45

45

ความหนา (มม.)

NA

13.3

Lug to Lug (มม.)

NA

52.6

ความกว้างขาสาย (มม.)

NA

20

หน้าปัด-เข็ม-Bezel : อันนี้ชัดเจนเพราะเป็นสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่าในการนำมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งในส่วนของหน้าปัดนั้นในรุ่นหน้าปัดดำกับ SBDC031 ที่เป็นหน้าปัดดำนั้น ดูเหมือนว่าในรุ่นใหม่จะเป็นหน้าปัดเงาที่มีการเหลื่อมของแสง ขณะที่รุ่นเก่าจะเป็นแบบด้าน โดยที่รายละเอียดบนหน้าปัดมีต่างอย่างชัดเจน ทั้งหลักชั่วโมงในตำแหน่ง 6 นาฬิกาที่เป็นทรงสามเหลี่ยมหัวตัดก็มีขนาดแคบลง และคำว่า Japan แล้วตามด้วยตัวเลขรหัสเครื่อง บนหน้าปัดก็หายไป ขณะที่ชุดเข็มในรุ่นใหม่ทั้ง 2 รุ่นเป็นของใหม่โดยเข็มนาทีจะยังเป็นทรงดาบยาวเรียว และเข็มชั่วโมงทรงป้อมๆ สั้นๆ แต่เปลี่ยนรายละเอียดบนชุดเข็มใหม่ ที่ยังน่าสงสัยว่าใหม่จริงหรือเปล่าคงเป็นเข็มวินาทีที่ดูคล้ายกับของเดิมเหลือเกิน ส่วน Bezel เปลี่ยนฟอนต์ตัวเลขให้บางลง และตรงสามเหลี่ยมหลัก 12 น. พร้อมพรายน้ำก็เปลี่ยนเป็นแบบสามเหลี่ยมหัวตัดคว่ำ

กลไก : อันนี้ต่างจริงแบบไม่ต้องสงสัยว่าใหม่จริง เพราะใน Sumo ใหม่มากับรหัส 6R35 และปลดรหัส 6R15 ของ SBDC031/SBDC033 ออกไป ซึ่งกลไกใหม่นี้มีพลังงานสำรองเพิ่มขึ้นจาก 50 มาเป็น 70 ชั่วโมง เช่นเดียวกับจำนวนทับทิมในกลไกที่เพิ่มขึ้นเป็น 24 จากเดิมมีแค่ 23 เม็ด ส่วนจะเป็นพื้นฐานเดียวกันหรือไม่นั้น ยังไม่มีการเปิดเผยออกมา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจคือ Seiko จะนำกลไก 6R15 ขยับลงไปใส่ในนาฬิการะดับล่างๆ หรือไม่ ต้องติดตามดูกันต่อไป

รายละเอียด

New Sumo

SBDC031/SBDC033

รหัส

6R35

6R15

ฟังก์ชั่น

วันที่/Hack เข็มวินาที/ขึ้นลานมือ

วันที่/Hack เข็มวินาที/ขึ้นลานมือ

ความถี่ (ครั้ง/ชั่วโมง)

21,600

21,600

จำนวนทับทิม

24

23

รายละเอียดอื่นๆ : ในรุ่นของจำนวนรุ่นที่เปิดตัวในช่วงแรกมีการเปิดเผยออกมาแล้วว่าจะมีขาย 2 รุ่นคือ SPB101J1 สีดำ และ SPB103J1 สีเขียว โดยยังไม่มีการเปิดเผยออกมาอีกว่าจะมีรุ่นอื่นๆ ตามออกมาไหม ส่วนสิ่งที่แฟนๆ Sumo ค่อนข้างชอบคือ ในรุ่นนี้จะมากับกระจกแบบ Sapphire ไม่ใช่ Hardlex เหมือนกับรุ่นเดิม อันนี้ก็ได้สมหวังกันสักที ขณะที่ราคานั้น ในตลาดญี่ปุ่น Sumo มีการตั้งราคาป้ายเอาไว้ที่ 60,000 เยน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 18,000 บาทแบบยังไม่หักส่วนลด ขณะที่ Seiko New Sumo ใหม่ เท่าที่หาข้อมูลได้ มีการระบุว่าจะตั้งราคาเอาไว้ที่ 1,300 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งจะอยู่ที่ 30,000 กว่าบาท ซึ่งตรงนี้เป็นการเปรียบเทียบจากตลาดคนละแห่ง เลยไม่สามารถเอามาอ้างอิงได้ โดยการเริ่มทำตลาดจะอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมเหมือนกับนาฬิการุ่นอื่นๆ ของ Seiko ที่เปิดตัวในงาน Basel World 2019

Seiko New Sumo
New Sumo : SPB103J1