Seiko Marinemaster Tuna Can แต่ละชื่อมีที่มา

0

เรารู้จักกับชื่อ Seiko Marinemaster Tuna Can แต่ทว่าภายใต้ชื่อนี้ มีนาฬิกาที่อยู่ในกลุ่มมากมาย และแต่ละเรือนก็จะมีชื่อเรียกมากมายไปเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด และคนเล่นจะได้ไม่ต้องมานั่งจำรหัสรุ่นกันให้งง 

- Advertisement -

Marinemaster SBBN029

Seiko Marinemaster Tuna Can แต่ละชื่อล้วนมีที่มา

นาฬิกาบางทีก็เหมือนกับรถยนต์ที่คนใช้งานทั่วไปมักจะตั้งชื่อเล่นหรือฉายาเอาไว้ให้เพื่อความสะดวกในการสื่อสารแบบไม่ต้องมานั่งท่องจำรหัสกันให้เมื่อยตุ้ม ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับบางไลน์อัพ การที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีรุ่นย่อยยาวเหยียดนั้น บางครั้งอาจจะทำให้มีชื่อเล่นหรือนามแฝงเยอะแยะไปหมด ซึ่งในกรณีนี้ Seiko Marinemaster ในกลุ่ม Tuna Can ถือเป็นรุ่นหนึ่งที่ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะมีชื่อเยอะมาก

และเพื่อป้องกันความสับสน วันนี้ทาง Ana-Digi เลยรวบรวมชื่อเล่นและนามแฝงของนาฬิการุ่นนี้แบบที่มีใช้อย่างเป็นทางการและค่อนข้างแพร่หลาย ทั้งในบ้านเรา และต่างประเทศมาให้รับทราบกัน

ส่วนจะมีเล่นและนามแฝงของนาฬิการุ่นไหนชื่ออะไรบ้างมาดูกันได้เลย

-Tuna Can : อันนี้เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของนาฬิกาในกลุ่มดำน้ำของ Seiko ซึ่งมีเอกลักษณ์ตรงที่ตัวเรือนแบบ Monocase ไม่มีฝาหลังแถมด้วยมีเกราะ หรือ Shroud หุ้มอยู่ และเมื่อก่อนด้วยความที่ใช้ และตัวเรือนมีลักษณะเป็นทรงกระป๋องคล้ายกับปลากระป๋อง แถมการเซอร์วิสก็ต้องใช้วิธีเปิดกระจกและแงะเครื่องออกมา เหมือนกับเปิดฝาเอาเนื้อปลาในกระป๋องออกมา ก็เลยเป็นที่มาของชื่อเรียก Tuna Can

-Grand Father Tuna : เป็นชื่อเรียกนาฬิกาดำน้ำสไตล์นี้รุ่นแรกซึ่งมีรหัส 6159-7010 / YAQ028 ที่เปิดตัวในปี 1975 ซึ่งถือเป็นต้นแบบของ Tuna ที่ถูกส่งทำตลาดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

Golden Tuna : เป็นชื่อเรียกนาฬิกาดำน้ำรุ่นดั้งเดิมในรหัส 7549-7009 ที่เปิดตัวในปี 1978 เป็น Tuna ที่มีแซมด้วยสีทองบนขอบ Bezel เม็ดมะยมและหมุดตามจุดต่างๆ กับความสามารถในระดับ 600 เมตรและใช้กลไกควอตซ์ นอกจากนั้น ชื่อนี้ยังถูกนำมาใช้อีกครั้งกับรหัส 7C46-7009 หรือ SSBS018 ซึ่งเป็นการผลิตใหม่อีกครั้งจากรุ่นดั้งเดิมและเปิดตัวเมื่อปี 1999 รวมถึงรุ่นใหม่ล่าสุด 8L35-00H0 ที่เรารู้จักกันในอีกรหัสคือ SBDX014 ที่เปิดตัวในปี 2015 แต่คนส่วนใหญ่จะเรียกว่า New Golden Tuna

-Quartz Tuna : มีจุดเริ่มต้นในปี 1978 ในรหัส 7549-7010 PYF028 ซึ่งถือเป็นนาฬิกาดำน้ำรุ่นแรกที่ใช้กลไกควอตซ์ และมีความสามารถในการดำน้ำระดับ 300 เมตร ในปัจจุบัน นาฬิกากลุ่มนี้ยังมีขายอยู่ เพียงแต่คนส่วนใหญ่จะเลือกเรียกชื่อที่เป็นรูปแบบเฉพาะของแต่ละรุ่นมากกว่า

-Darth Tuna : ในปี 2001 Seiko เปิดตัวนาฬิกาดำน้ำในกลุ่ม Marinemaster ที่มีความสามาถในการดำถึงระดับ 1,000 เมตร และใช้ตัวเรือนแบบ Moncase บวกกับกลไก 7C46 ซึ่งนั่นเป็นที่มาของรหัส 7C46-0AAD หรือ SBBN011 และคนส่วนใหญ่เรียกนาฬิการุ่นนี้ว่า Darth Tuna เพราะตัวเรือนที่ดำสนิทตลอดทั้งเรือน ก่อนที่จะมีการปรับโฉมเป็น SBBN013 เมื่อปี 2009 และอีกครั้งในรหัส SBBN025 ในปี 2015

-Emperor Tuna : ในช่วงเวลาเดียวกันกับ Darth Tuna ก็มีการเปิดตัวรุ่นอัตโนมัติในรหัส SBDX011 ที่ใช้กลไก 8L ออกมาขายคู่กันด้วย และด้วยตัวเรือนที่มีขนาดใหญ่กส่า หนากว่า และแพงกว่า มันก็เลยถูกขนานนามว่าเป็น Emperor Tuna

-Yellow Tuna : ในช่วงของการปรับโฉมในกลุ่มนาฬิกา Tuna Can เมื่อปี 2015 ในฝั่งของรุ่นควอตซ์ 1,000 เมตรซ฿งเมื่อก่อนมี Darth Tuna เพียงรุ่นเดียว คราวนี้มีการเพิ่มทางเลือกใหม่ออกมาในรหัส SBBN027 ซึ่งมากับตัวเรือนดำ ขอบ Bezel สีเหลือง และเข็มนาทีเหลือง นั่นก็เลยทำให้มันถูกขนานนามว่า Yellow Tuna ขณะที่รุ่นปรับโฉมของ Darth Tuna ในรหัส SBBN025 ก็ยังใช้ชือนี้ต่อไป รวมถึงตัว Emperor Tuna ที่เปลี่ยนมาใช้รหัส SBDX013

-Golden Spring Drive Tuna : ในปี 2013 ช่วงวาระของการฉลองครบรอบ 100 ปีของการผลิตนาฬิกาข้อมือเรือนแรก พวกเขามีการเปิดตัวคอลเล็กชั่นพิเศษออกมา และหนึ่งในนั้นคือ Golden Spring Drive Tuna ที่ใช้รหัส SBDB008 ผลิตเพียง 300 เรือนและเป็นอีกครั้งที่ Seiko เปิดตัวนาฬิกาใหม่ในฐานะ Limited Edition ก่อนที่รุ่นมาตรฐานจะถูกส่งลงตลาด

-Spring Drive Tuna : เป็นชื่อที่ใช้เรียก Tuna Can ตัวเทพที่ถอดเครื่อง 8L และ 7C46 ออกแล้วหันมาคบกับกลไก Spring Drive รหัส 5R65 และมีระดับความสามารถในการกันน้ำ 600 เมตร แต่บอดี้ยังเป็น Monocase เหมือนกับตัว 1,000 เมตร รุ่นแรกเปิดตัวในปี 2014 ใช้รหัส SBDB009 ก่อนที่จะมีการปรับโฉมตามอายุตลาดในอีก 2 ปีต่อมา แล้วใช้รหัสใหม่ SBDB013

-Ninja Tuna / Dark Tuna : มากับรหัส SBBN035 และเป็นนาฬิกาน้องใหม่ที่ในกลุ่ม Tuna Quartz 300 เมตรที่เปิดตัวในปี 2015 พร้อมๆ กับรุ่นปรับโฉม ไม่เคยผลิตขายมาก่อน โดยเน้นสีดำตลอดทั้งเรือนเหมือนกับ Darth Tuna โดยบางที่ก็เรียก Ninja Tuna หรือไม่ก็ Dark Tuna

-Blue Fin Tuna : เป็นตัวใหม่ในตระกูล Tuna Quartz 300 เมตร ใช้หน้าปัดสีน้ำเงินเช่นเดียวกับสาย และจำหน่ายผ่านช่องทางพิเศษโดยใช้รหัส SBBN037

– PADI  Marinemaster Tuna : รุ่นพิเศษมีการผลิต 750 เรือนโดยใช้พื้นฐานของตัว Tuna Quartz 300 เมตรแต่มีการเปลี่ยนชุดเข็ม และตกแต่งรายละเอียดใหม่ทั้งหมด

-White Dolphin : Limited Edition ที่ผลิตออกสู่ตลาดเมื่อปี 2010 ในวาระของการฉลองครบรอบ 45 ปีการผลิตนาฬิกาดำน้ำของ Seiko ใช้รหัส SBBN019 ส่วนกลไกหลักเป็นพื้นฐานของรุ่น Darth Tuna แต่เปลี่ยนเกราะเป็นสีขาว พร้อมสายยางชุดใหม่ และผลิตออกมาเพียง 300 เรือนเท่านั้น

-Blue Ocean : ใช้รหัส SBBN021 และมีความพิเศษเหมือนกับ White Dolphin ในการเป็น Limited Edition ผลิตเพียง 400 เรือนในวาระของการฉลองวาระครบรอบ 130 ปีของการก่อตั้ง Seiko เมื่อปี 2013 เปลี่ยนเกราะเป็นสีฟ้า เช่นเดียวกับเข็มชุดและหลักชั่วโมงที่มีสีฟ้าเรื่อๆ ขึ้นมา ส่วนกลไกใช้ควอตซ์ 7C46

-Platinum Ocean : มากับรหัส SBBN029 ผลิต 700 เรือนในวาระของการฉลองครบรอบ 50 ปีของการบุกตลาดนาฬิกาดำน้ำ ใช้พื้นฐานของ Darth Tuna ใหม่แต่เกราะผลิตจากวัสดุพิเศษที่เรียกว่า Cermet

-Gold Ocean : เป็นรุ่นพิเศษที่ผลิตออกมาในช่วงเดียวกับ Platinum Ocean ใช้เกราะสีทองผลิตด้วยวัสดุ Cermet กลไกอัตโนมัติ และมีรหัสรุ่น SBDX016 ผลิต 700 เรือน

นอกจากนาฬิกาในกลุ่ม Marinemaster แล้ว ชื่อของ Tuna ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายจนบางทีอยากจะเรียกว่าเลอะเทอะและเกร่อจนเกินไป อาจจะด้วยเหตุผลทางการตลาดที่พยายามอ้างอิงให้มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับความคลาสสิคของนาฬิกาที่สูงกว่าอย่าง Tuna เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย ทั้งที่สิ่งที่เหมือนกันนั้นมีแค่การเสริมชุดเกราะเข้าไปเท่านั้นเอง

-Tuna 50th ปี : เปิดตัวออกมาในปี 2015 ในวาระพิเศษฉลอง 50 ปีของการทำตลาดนาฬิกาดำน้ำ เป็น SE หรือ Special Edition ที่ผลิตออกมาไม่เยอะ และมี 2 สีคือ ดำ-แดงในรหัว SRP655J1 และฟ้า-เหลืองในรหัส SRP653J1 ใช้กลไก 4R36 โดยในเวลาต่อมามีการผลิตเป็นเวอร์ชันพิเศษ Zimbe แล้วถึงจะมีรุ่นธรรมดาตามออกมาขายเมื่อประมาณต้นปี 2017

-Tuna Zimbe 3th Edition : เป็นการต่อยอดมาจาก Tuna 50th ปี เพื่อนำมาทำเป็น Limited Edition โดยคราวนี้ขายในคอลเล็กชั่น Zimbe ซึ่งเป็นรุ่นที่ 3 มีการเปลี่ยนเข็ม เปลี่ยนหน้าปัด แต่กลไกยังเป็นแบบเดิม 4R36

-Baby Tuna : เปิดตัว 3 รุ่นแรกในรหัส SRP637K1 / SRP639K1 และ SRP641K1 พร้อมกับตั้งตัวเองว่าเป็นทายาทของ Tuna Can ด้วยการใช้ชื่อ Baby Tuna ในการทำตลาด ทั้งที่ความจริงแล้ว สมัยที่ไลน์อัพนาฬิกาของ Seiko ยังไม่เยอะขนาดนี้ นาฬิกาดำน้ำในกลุ่ม 200 เมตรแบบมทีเกราะจากพวก Superior (ใช้กลไก 4R) จะถูกเรียกว่า Sardine Can แทน แต่พอเมื่อมีการเปลี่ยนรุ่นใหม่ คราวนี้หันมาใช้ชื่อ Baby Tuna แทน

-Tuna Solar : เป็นชื่อเรียกของนาฬิการุ่นพิเศษที่ผลิตแบบ Limited Edition ซึ่งทาง Seiko ร่วมมือกับ Lower Case มีขายทั้งแบบตัว 3 เข็มปกติ หรือแบบโครโนกราฟ โดยกินแสงเป็นพลังงาน โดยใช้รหัส SBDN และ SBDL สำหรับแบบ 3 เข็ม และโครโนกราฟตามลำดับ

-Tuna PADI : เป็นชื่อเรียกนาฬิการุ่นพิเศษที่ฝาหลังพิมพ์ผิดจาก Special Edition เป็น Special Ediotoin โดยใช้พื้นฐานของรุ่น Tuna 50th ปี แต่เปลี่ยนชุดเข็มและสีตามแบบฉบับ PADI Edition ใช้กลไก 4R36 และดำน้ำได้ 200 เมตร