ความร่วมมือที่เปิดตัวครั้งแรกระหว่าง Girard-Perregaux (จีราร์ด-แพร์โกซ์ ) และ Aston Martin (แอสตัน มาร์ติน) ได้นำมาสู่ผลงานสร้างสรรค์เรือนเวลารุ่นใหม่ใน Laureato Chronograph Aston Martin Edition พร้อมกลไกจับเวลาสุดเจ๋ง
Girard-Perregaux Laureato Chronograph Aston Martin Edition ผลิตใหม่แห่งความร่วมมือ
สัมพันธภาพแห่งความร่วมมือที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อต้นปี ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา และยังนับเป็นมิตรภาพอย่างแท้จริงที่ก่อรูปขึ้นระหว่าง Girard-Perregaux (จีราร์ด-แพร์โกซ์ ) และ Aston Martin (แอสตัน มาร์ติน) ซึ่งนำมาสู่ผลงานสร้างสรรค์เรือนเวลารุ่นใหม่ใน Laureato Chronograph Aston Martin Edition (ลอรีอาโต โครโนกราฟ แอสตัน มาร์ติน เอดิชั่น)
นาฬิการุ่นนี้มาจากการผสมผสานอย่างเชี่ยวชาญและเปี่ยมด้วยสไตล์ที่เล่นระหว่างรูปทรง พื้นผิวและแสง เพื่อรังสรรค์ผลงานขึ้นเฉพาะสำหรับผู้ซึ่งหลงใหลชื่นชมในความหรูหราและเรื่องราวแห่งสมรรถนะ โดยสืบทอดจากมรดกที่สั่งสมมาอย่างยาวนานของสองบริษัทผู้เปี่ยมด้วยองค์ความรู้อันหลากหลายมากมายรวมกันแล้วกว่า 330 ปี จึงเปรียบเสมือนหลักฐานอันชัดเจนที่สะท้อนถึงคุณค่าจากผลงานสร้างสรรค์ของทั้งสองบริษัท
อย่างไรก็ตาม ขณะที่พวกเขาเคารพต่อมรดกของตน แต่ทั้งคู่นั้นยังคงเดินหน้าแลกเปลี่ยนซึ่งวิสัยทัศน์ด้วยแนวความคิดอันล้ำสมัยสูงสุดอย่างแท้จริง ย้อนกลับไปช่วงต้นยุค 1900s สีสันต่างๆ ได้ถูกนำมากำหนดใช้กับบรรดารถแข่งความเร็ว เพื่อช่วยแยกความแตกต่างระหว่างทีมรถแข่งที่มาจากหลากหลายประเทศและสัญชาติได้อย่างชัดเจน นั่นทำให้สีเหล่านั้น กลายเป็นเอกลักษณ์ของรถแข่งแต่ละทีม อาทิ รถแข่งจากฝรั่งเศสมักปรากฏโฉมภายใต้สีน้ำเงิน ขณะที่รถ อิตาลีมาพร้อมสีแดงเด่นชื่อดัง ส่วนรถเบลเยียมมีเอกลักษณ์ของสีเหลือง รถเยอรมันกับโทนสีเงิน และรถ อังกฤษด้วยรูปโฉมภายใต้เฉดสีบริติช เรซิง กรีน (British Racing Green)
ในฐานะค่ายรถสัญชาติอังกฤษ Aston Martin จึงได้รับสีเขียวนี้มาใช้เป็นสีสันในรถแข่งของตน เช่นในตัวอย่างที่มีชื่อเสียงสูงสุดอย่าง Aston Martin DBR1 (แอสตัน มาร์ติน ดีบีอาร์1) ที่คว้าชัยชนะจากการแข่งขัน 24 ชั่วโมงที่เลอมังส์ (24 Hours of Le Mans) ในปี ค.ศ. 1959 มาได้สำเร็จ และนับจากรถชื่อดังคันนั้นสู่รถแข่งฟอร์มูล่าวัน (Formula 1®) สมัยใหม่ สีสัญลักษณ์สำหรับรถแข่งของ Aston Martin ก็ยังคงเป็นสีเขียวเรื่อยมา
Girard-Perregaux Laureato Chronograph Aston Martin Edition คือผลงานสร้างสรรค์รุ่นล่าสุดจาก Girard-Perregaux ซึ่งรังสรรค์ขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ Aston Martin Lagonda (แอสตัน มาร์ติน ลากอนด้า) ด้วย หน้าปัดโดดเด่นที่อาบไปด้วยการใช้เฉดสีอันน่าอภิรมย์ ที่ ณ ปัจจุบัน ได้กลายเป็นที่รู้จักกันอย่างดีว่า “แอสตัน มาร์ติน กรีน” (“Aston Martin Green”) โดยสร้างสรรค์ขึ้นด้วยวิธีการวาดสีลงบนหน้าปัดอย่างบรรจงและพิถีพิถันถึงยี่สิบเอ็ดครั้ง และสร้างรูปเป็นการวาดสีเจ็ดชั้นต่างๆ อันโดดเด่นที่ให้ผลลัพธ์ของภาพอันงดงาม สะดุดตา
ขณะที่อิทธิพลจากโลกแห่งยานยนต์นี้ยังได้ขยายไปสู่เทคนิคการแรเส้นเงาขวาง (cross-hatching) เป็นลวดลายคล้ายเพชรที่ปรากฏให้เห็นครั้งแรกจากโลโก้ ‘AM’ ของผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ (ค.ศ. 1921 – 1926) โดยลวดลายดังกล่าวยังได้แรงบันดาลใจมาจากเบาะที่นั่งสไตล์ควิลท์ (quilted seats) ที่พบได้ในบรรดารถสปอร์ตสมรรถนะสูงอีกมากมายจากค่ายรถอังกฤษนี้เช่นกัน
Patrick Pruniaux (แพทริค ปรูโนซ์) ผู้อำนวยการบริหารใหญ่ของ Girard-Perregaux เผยว่า “โรงงานการ ผลิตของเรานั้นมีประวัติศาสตร์แห่งความร่วมมือมาแล้วอย่างยาวนาน นับตั้งแต่เริ่มต้นจาก Jean-François Bautte (ฌอง-ฟรองซัวส์ บอตเตอ) ผู้ก่อตั้งของเราที่ได้รวบรวม “ช่างฝีมือและห้องปฏิบัติการประกอบนาฬิกา” (etablisseurs) จากหลากหลายสาขามาอยู่รวมภายใต้หลังคาเดียวกัน และส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์หนึ่งใน โรงงานการผลิต (Manufactures) แห่งแรกๆ ขึ้นดังที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในทุกวันนี้ และความร่วมมือของเรากับ Aston Martin ในวันนี้ไม่เพียงมอบผลลัพธ์เป็นเรือนเวลาสุดพิเศษสองรุ่น แต่แท้จริงนั้น ยังเป็นการมาพบกันของแนวความคิดและวิสัยทัศน์ที่จะสร้างซึ่งจุดเริ่มต้นใหม่ๆ ของสิ่งที่เรียกว่ามิตรภาพอย่างแท้จริงขึ้นระหว่างทั้งสองแบรนด์และทีมของเรา โดยมี Laureato Chronograph Aston Martin Edition เป็นหลักฐานที่พิสูจน์ถึง ความเข้าใจที่มีร่วมกันและปรัชญาที่เราได้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน”
ขณะที่ Marek Reichman (มาเรก ไรค์แมน) รองประธานบริหารและผู้อำนวยการบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ ของ Aston Martin กล่าวเสริมว่า “ขณะที่ Aston Martin และ Girard-Perregaux ได้สร้างความเข้มแข็งให้กับการเป็นพันธมิตรของเรา สิ่งเดียวกันนี้ก็กำลังเกิดขึ้นเช่นกันกับทั้งแนวความคิดและวิสัยทัศน์ด้านการออกแบบพื้นฐานที่กำลังมุ่งหน้าไปสู่ความหรูหราอย่างรอบคอบและพิถีพิถัน ซึ่งนั่นยังได้ร่วมแสดงออกผ่านรายละเอียดที่ปรากฏอยู่ภายใต้สัมผัสอันลุ่มลึกของเรือนเวลา อาทิ เข็มชี้ชั่วโมงและนาทีที่สลักเสลาแบบโอเพนเวิร์ก (openworked) บางส่วน ซึ่งถูกออกแบบขึ้นอย่างมีวัตถุประสงค์ในการย้ำเตือนให้เราได้หวนนึกไปถึงบรรดารถแข่งที่พยายามหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่มากเกินไป เพื่อมอบซึ่งสมรรถนะที่เหนือกว่า เช่นกันกับเข็มวินาทีกลาง จับเวลาโครโนกราฟที่บรรจุไว้ด้วยตุ้มถ่วงบนปลายอีกด้านหนึ่ง ซึ่งดูคล้ายกันกับใบมีดด้านข้างกระโปรงที่พบได้ ครั้งแรกในรถ Aston Martin DB4 รุ่นปี ค.ศ. 1958”
Girard-Perregaux Laureato Chronograph Aston Martin Edition สง่างามด้วยหน้าปัดย่อยสามวงอันโดดเด่นบนหน้าปัดกลางของเรือนเวลา ที่ประกอบด้วยหน้าปัดย่อย จับเวลาโครโนกราฟสองวงและหน้าปัดย่อยแสดงวินาทีเล็กหนึ่งวง โดยแต่ละหน้าปัดย่อยนี้ยังบรรจุไว้ด้วยเข็มชี้ แบบโอเพนเวิร์กบางส่วน ซึ่งสอดคล้องรับไปกับงานออกแบบของเข็มชี้ชั่วโมงและนาที
ขณะที่พื้นที่ส่วนกลางของแต่ละหน้าปัดย่อยนั้นยังตกแต่งด้วยลวดลายแบบก้นหอย (snailed) และการแสดงวันที่ที่จัดวางไว้ ณ ตำแหน่ง 4.30 นาฬิกาซึ่งนับเป็นการเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับทุกฟังก์ชั้นได้ทั้งหมด โดดด์สปอร์ตด้วยขอบตัวเรือนทรงแปดเหลี่ยม ภายใต้โครงร่างของนาฬิการุ่นนี้ที่มอบเกียรติให้กับต้นตำรับแห่ง Laureato (ลอรีอาโต) ในปี ค.ศ. 1975 ที่เป็นดั่งไอคอนิกของแบรนด์ พร้อมทั้งยกระดับซึ่งปรัชญางานออกแบบของ Girard-Perregaux กับตัวเรือนที่เล่นระหว่างรูปทรงต่างๆ ได้อย่างเชี่ยวชาญ
ยิ่งไปกว่านั้น ตัวนาฬิกายังซ่อนไว้ด้วยความโค้ง เหลี่ยมด้าน และเส้นสายอีกมากมาย ร่วมไปกับขอบขัดมุมแบบซาตินและขัดเงาที่ทั้งผสมผสานและมอบซึ่งการเล่นกับแสงได้อย่างน่าอัศจรรย์ ส่วนแผ่นกระจกแซฟไฟร์ซึ่งติดตั้งไว้บนของนาฬิกายังได้มอบภาพการมองเห็นถึงกลไกจักรกล ไขลานอัตโนมัติที่ผลิตขึ้นภายในโรงงานของตนเอง (Manufacture movement) นั่นคือ คาลิเบอร์ จีพี03300- 0141 (Calibre GP03300-0141) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่นาฬิกา Laureato Chronograph จะมาพร้อมด้วยฝาหลังแบบเปิดเปลือยเช่นนี้
ขณะที่กลไกชุดนี้ซึ่งพัฒนามาจากฐานกลไกอันเลื่องชื่อ อย่าง คา ลิเบอร์ จีพี03300 (Calibre GP03300) นั้นยังตกแต่งด้วยลวดลาย Côtes de Genève ทั้งแบบลายวงกลมและแถบตรง รวมถึงขอบของช่องโพรงขัดเงา สกรูทำให้เป็นสีน้ำเงินโดยความร้อน และ ลวดลายเพอร์ลาจ (perlage) โดยกลไกชุดนี้ยังประทับไว้ด้วยสัญลักษณ์อินทรี ที่บ่งบอกถึงการเป็นกลไกคาลิเบอร์ผลิตในโรงงานของตนเองหรืออินเฮาส์ (in-house)
ทั้งหมดถูกบรรจุภายในตัวเรือนขนาด 42 มม. ทำจากสเตนเลสสตีล 904แอล (904L) ซึ่งเป็นเกรดพิเศษของสตีลที่ใช้กันแพร่หลายน้อยกว่า 316แอล (316L) และมีราคาสูงกว่า ทว่าให้ผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์ที่ได้มาจาก คุณสมบัติเด่นๆ อีกมากมาย ซึ่งรวมไปถึงความทนทานต่อการสึกกร่อนที่เหนือกว่า กันรอยขีดข่วนได้ดียิ่งขึ้น และมีความสว่างมากกว่า จึงให้ภาพลักษณ์ที่หรูหราเหนือกว่า
การใช้สเตนเลสสตีล 904แอล นี้ยังได้ขยายไปจนถึงการรังสรรค์สายสร้อยข้อมือซึ่งตกแต่งอย่างประณีตด้วยงานขัดด้านซาติน ภายใต้องค์ประกอบอันทรงคุณค่าของ Girard-Perregaux Laureato Chronograph Aston Martin Edition ซึ่งมีโครงร่างตัว เรือนผสมผสานระหว่างรูปทรงต่างๆ รวมถึงงานการตกแต่งและเฉดสีอย่างสมบูรณ์ลงตัวแล้ว งานออกแบบของผลงานรุ่นนี้ยังมอบทั้งประสิทธิภาพในการใช้งานฟังก์ชั่นและความสวยงามอันมีเอกลักษณ์เช่นกัน
นอกจากนั้นสิ่งนี้คือการเป็นตัวแทนแห่งการร่วมเฉลิมฉลองให้กับอดีต ขณะเดียวกันก็โอบกอดไว้ซึ่งอนาคต จากผลลัพธ์ อันสมบูรณ์แบบที่สะท้อนความโดดเด่นของทั้งสองบริษัท รวมถึงผนึกไว้ซึ่งคุณค่าและองค์ความรู้สู่ความร่วมมือระหว่างสองแบรนด์อันทรงเกียรตินี้ที่ยังคงดำเนินรุดหน้าต่อไป
Girard-Perregaux Laureato Chronograph Aston Martin Edition ผลิตจำกัดเพียง 188 เรือน และจะมีจำหน่ายพร้อมกันทั่วโลก ณ ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการและที่ได้รับการแต่งตั้งของ Girard-Perregaux ทุกแห่ง เป็นส่วนหนึ่งของแคริ่ง กรุ๊ป (Kering Group) บริษัทชั้นนำแห่งโลกลักชัวรี
ข้อมูลทางเทคนิค : Girard-Perregaux Laureato Chronograph Aston Martin Edition
- หมายเลขอ้างอิง : 81020-11-001-11A
- ผลิตจำนวนจำกัด : 188 เรือน, ไม่มีหมายเลขกำกับ
- ราคา : 623,000 บาท
- ตัวเรือน วัสดุ : สตีล
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง : 00 มม.
- หนา : 01 มม.
- กระจก : กระจกแซฟไฟร์กันแสงสะท้อน
- ฝาหลัง : กระจกแซฟไฟร์กันแสงสะท้อน, : ประดับโลโก้ แอสตัน มาร์ติน
- หน้าปัด : “แอสตัน มาร์ติน กรีน” : ตกแต่งด้วยการแรเส้นเงาขวาง, : เครื่องหมายขีดทรง ‘บาตอง’ (baton) : พร้อมด้วยสารเรืองแสง (ปล่อยแสงเรืองสีเขียว) เข็มชี้ : แบบสเกเลตัน, ทรง ‘บาตอง’ : พร้อมด้วยสารเรืองแสง (ปล่อยแสงเรืองสีเขียว)
- การกันน้ำ : 100 เมตร (10 เอทีเอ็ม)
- กลไก หมายเลขอ้างอิง : GP03300-0141
- กลไก : จักรกลไขลานอัตโนมัติ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง : 95 มม. (11½”’) หนา : 6.50 มม.
- ความถี่ : 28,800 ครั้ง/ชั่วโมง – (4 เฮิรตซ์)
- จำนวนชิ้นส่วน : 419ชิ้น
- จำนวนทับทิม : 63 เม็ด
- สำรองพลังงาน: อย่างน้อย 46ชั่วโมง
Fanpage : https://www.facebook.com/anadigionline/