Casio G-Shock 35 ปี แห่งปรากฏการณ์ใหม่ของวงการนาฬิกา

0

ในปีหน้า Casio G-Shock จะมีอายุครบ 35 ปี และในตอนนี้พวกเขาเริ่มแผนการเฉลิมฉลองโอกาสพิเศษนี้แล้ว แต่ก่อนที่จะไปถึงเรื่องนั้น เรามาดูกันว่าตลอด 35 ปีที่ผ่านมา พวกเขาได้ทำอะไรกันบ้าง

Casio G-Shock 35 ปี แห่งปรากฏการณ์ใหม่ของวงการนาฬิกา
Casio G-Shock 35 ปี แห่งปรากฏการณ์ใหม่ของวงการนาฬิกา

Casio G-Shock 35 ปี แห่งปรากฏการณ์ใหม่ของวงการนาฬิกา

- Advertisement -

นับจากปี 1983 เป็นต้นมา Casio หลังจากที่เปิดตัวนาฬิกา G-Shock ออกสู่ตลาด นาฬิกาจอมลุยรุ่นนี้ได้กลายเป็นนาฬิกายอดนิยมของใครหลายคน และพวกเขาใช้เวลาเพียง 35 ปีในการที่ทำตัวเลขการผลิตออกสู่ตลาดครบ 100 ล้านเรือนไปเมื่อก่อนเข้าสู่เดือนกันยายนที่ผ่านมา และนี่คือเรื่องราวที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จจนเรียกได้ว่า Casio G-Shock 35 ปี แห่งปรากฏการณ์ใหม่ของวงการนาฬิกา

1981-1983

หลังจากที่ Casio ได้เริ่มก่อตั้งบริษัทเพื่อรุกตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และนาฬิกาข้อมือมาได้สักระยะ ในตอนนี้พวกเขาเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ในการสร้างความฮือฮาให้กับตลาด และเล็งไปที่การผลิตนาฬิกาที่มีความทนทานในการใช้งาน ซึ่งจะแตกต่างจากนาฬิกาข้อมือในตลาดที่ค่อนข้างเปราะบาง และเสียหายง่ายเมื่อมีการกระแทกหรือใช้งานผิดประเภท นั่นจึงเป็นที่มาของโปรเจ็กต์ G-Shock ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 1981

อย่างที่ทราบกันดีว่า มิสเตอร์ Kikuo Ibe ซึ่งในปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘บิดาของ G-Shock’ เป็นผู้จุดประกายในการพัฒนานาฬิกาประเภทนี้ขึ้นมาหลังจากนาฬิกาที่ได้รับเป็นของขวัญวันที่สามารถสอบผ่านการเรียนในระดับมัธยม เกิดพังเพราะอุบัติเหตุหล่นกระแทกพื้น นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Ibe ตั้งเป้าว่าจะต้องผลิตและพัฒนานาฬิกาประเภทใหม่ ที่จะต้องมีความทนทานและไม่พังง่ายๆ แม้หล่นกระแทกพื้น

จากนาฬิกาต้นแบบที่ถูกสร้างขึ้นมามากกว่า 200 เรือนในระหว่างการทดสอบ ในที่สุดพวกเขาก็ค้นพบโครงสร้างตัวเรือนที่มีความทนทานและสามารถที่จะปกป้องโมดุลที่อยู่ข้างในเอาไว้ไม่ให้ได้รับความเสียหาย และในเดือนเมษายน 1983 Casio ก็เปิดตัว G-Shock รุ่นแรกออกสู่ตลาด นั่นคือ DW-500C โดยชื่อ G-Shock มาจากการสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการพัฒนานาฬิกาเรือนนี้ที่จะต้องมีความทนทานต่อแรงกระแทกในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการหล่นกระแทกเพราะแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝังใจของมิสเตอร์ Ibe

1984-1990

หลังจากที่เปิดตัวออกมาแล้วในปีต่อมา G-Shock ก็บุกตลาดสหรัฐอเมริกา และถ้าคุณยังจำโฆษณาทาง TV สมัยเด็กๆ กันได้ พวกเขานำ G-Shock มาใช้ตีแทนลูกฮ็อคกี้น้ำแข็งเพื่อสื่อให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและทนทานของ DW5200C แน่นอนว่าตรงนี้ก่อให้เกิดข้อสงสัยในวงกว้างว่ามันคือการโฆษณาที่เกินจริงหรือไม่ และทุกคนก็เห็นพ้องต้องกันหลังจากที่ได้ทดลองใส่ จนกระทั่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ในเรื่องของคุณสมบัติความทนทานต่อการกระแทกกระทั้นนั่นคือปัจจัยหนึ่ง แต่อีกปัจจัยหนึ่งคือ ขนาดของ G-Shock ซึ่งสมัยนั้นอาจจะดูแล้วใหญ่เกินไปสำหรับข้อมือคนเอเชีย แต่สำหรับฝรั่งตัวโตๆ ข้อมือใหญ่ และในยุคที่นาฬิกา ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางแค่ 35-37 มม.ก็ถือว่าใหญ่แล่ว DW5200C จึงสามารถรองรับกับความต้องการของชายชาวอเมริกันได้ และกลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มของคนที่ชอบผจญภัย นักดับเพลิง ตำรวจ ฯลฯ ก่อนที่จะกระจายเข้าสู่กลุ่มคนเล่นสเก็ตช์บอร์ดในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เมื่อพวกเขาเปิดตัวรุ่น DW5900C ที่มาพร้อมกับหน้าจอแบบ Liquid Crystal Graphic

ต้นทศวรรษที่ 1990

ความสัมพันธ์ในเชิงวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นและอเมริกันมีความแนบแน่น และในเมื่อ G-Shock กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Street Fashion มันก็เลยแพร่กระจายกลับมาสู่ตลาดญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว และได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่นชาวญี่ปุ่น และแม้ว่า DW5900C จะเป็นโมเดลที่มีขายเฉพาะนอกญี่ปุ่น แต่มันก็ไม่เกินความสามารถของพวกที่เป็น Fashion Mania ในการที่จะตามหาและนำเข้ามาสวมใส่กัน

เมื่อความฮิตมาจากการเปิดนิตยสารแฟชั่นของอเมริกันและเดินตามการแต่งกาย ในที่สุดเมื่อ G-Shock ได้รับการยอมรับและถูกสวมใส่โดยบรรดาคนดังในโลกบันเทิง เช่น ดาราหรือนักดนตรีในญี่ปุ่น ความนิยมก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีการทำบทความเกี่ยวกับนาฬิการุ่นนี้ลงในนิตยสารแฟชั่นของญี่ปุ่นเลยทีเดียว และเพียง 5 ปีเท่านั้นจากยอดการผลิตเพียง 10,000 เรือนในปี 1990 ตัวเลขขยับขึ้นครบ 700,000 เรือนในปี 1995และนั่นทำให้ G-Shock กลายเป็นนาฬิกาดิจิตอลเรือนแรกที่ถูกนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการแต่งกายของวัยรุ่นในยุคนั้น

กลางและปลายทศวรรษที่ 1990

ด้วยเป้าหมายในการเพิ่มความหลากหลายของรุ่นสำหรับรองรับกับความต้องการใช้งานและการสวมใส่ ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 ทาง Casio จึงขยับขยายรุ่นย่อยในกลุ่มนาฬิกา G-Shock ออกมามากมาย ที่สำคัญคือในปี 1996 พวกเขาเปิดตัว MRG-1 รุ่นแรกออกมาเพื่อรองรับกับความต้องการของคนในวัยทำงานที่อยากได้นาฬิกาเรือนเหล็กทั้งเรือนสำหรับใส่ไปทำงาน และนั่นทำให้กลุ่มลูกค้าของ G-Shock ไม่ได้มีแค่วัยรุ่นอีกต่อไป

ขณะเดียวกันในกลุ่มของ Street Fashion ที่เป็นตัวจุดชนวนความนิยมขึ้นมานั้น ทาง Casio เองก็ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมารองรับกับความต้องการของคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ โดยเน้นไปที่กลุ่มคนที่เล่นสเก็ตช์บอร์ด และกระดานโต้คลื่น เช่นเดียวกับกลุ่ม DJ ตามปาร์ตี้และพวกขาแดนซ์ทั้งหลาย

แน่นอนว่าตรงนี้เห็นผลแบบชัดเจนและทำให้กราฟมีสภาพก้าวกระโดดอย่างมาก เพราะจากตัวเลข 700,000 เรือนพวกเขาใช้เวลาเพียง 2 ปีทำตัวเลขการผลิตครบ 6 ล้านเรือนในปี 1997 โดยในจำนวนนี้มี 2.4 ล้านเรือนขายอยู่ในญี่ปุ่น และนั่นทำให้ G-Shock ไม่ใช่แค่นาฬิกาที่มีความทนทานแล้ว แต่เป็นแฟชั่น และวัฒนธรรมบางอย่างที่สามารถสะท้อนตัวตนของผู้สวมใส่ออกมาได้

ทศวรรษ 2000

หลังจากพีคสุดๆ ในด้านยอดขายในช่วงปี 1997 ในที่สุดทีมพัฒนาก็กลับมานั่งคิด และมองว่าควรจะพา G-Shock กลับมายืนอยู่บนรากเหง้าเดิมในเรื่องของความทนทาน และความแข็งแกร่ง แต่เพิ่มสิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้าไปเพื่อติดอาวุธให้กับ G-Shock รุ่นใหม่ๆ ที่จะถูกส่งออกสู่ตลาด โดยไฮไลต์ที่มาจากแนวคิดนี้มีด้วยกัน 3 รุ่น คือ การเปิดตัว GW300 ในปี 2002 ซึ่งมาพร้อมกับเทคโนโลยีปรับเวลาตามคลื่นวิทยุ หรือ Wave Ceptor พร้อมกับการชาร์จกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Tough Solar ตามด้วยรุ่น G9200 ในปี 2008 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Riseman ซึ่งสามารถวัดความสูงและความกดอากาศได้ หรือล่าสุดคือ GW4000 ในปี 2012 ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Triple G Resist ในการป้องกันแรง G ที่เกิดขึ้น 3 ทางซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับการบิน

ปัจจุบัน

นอกจากการพัฒนานาฬิกาในรูปแบบเดิมที่สร้างชื่อให้กับพวกเขาแล้ว ทางนักพัฒนาของ G-Shock ยังได้ต่อยอดทางความคิดด้วยการนำนวัตกรรมที่ล้ำสมัยมาใช้กับ G-Shock เพื่อสอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่เห็น คือ การเปิดตัวนาฬิกาBluetooth อย่างรุ่น  GB6900 ในปี 2012 ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับ Smartphone ตามด้วยรุ่น GPW-1000 ที่มีการนำระบบ GPS มาใช้ในการปรับเวลาท้องถิ่น โดยเปิดตัวในปี 2014  และในปี 2017 มีการเปิดตัวรุ่น GPW-2000 ที่มีการนำโมดุลแบบ 3-way Connected Engine มาใช้ ทำให้สามารถปรับเวลามห้มีความเที่ยงตรงผ่านทางระบบ Wave Ceptror, GPS และการ Sync เข้ากับ Server Time

และถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการเชื่อมต่อที่ช่วยยกระดับให้ G-Shock มีความล้ำหน้าไปอีกขั้น

ฉลองครบ 100 ล้านเรือน

ในวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา Casio ได้มีโอกาสฉลองยอดการผลิตครบ 100 ล้านเรือน และเรือนที่ 100 ล้านคือ G-Shock MRG-G1000B-1A4 รุ่นพิเศษ ที่ผลิตจากโรงงานในเมือง Yamagata ประเทศญี่ปุ่น และแน่นอนว่าเรือนนี้ไม่มีขายแต่จะเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์ เพราะว่ามีความพเศษตรงที่ฝาหลังการสลักข้อความเฉลิมฉลองครบ 100 ล้านเรือนเอาไว้ด้วย

จุดสำคัญในช่วงประวัติศาสตร์ 35  ปีของ Casio G-Shock

ปี รุ่น สิ่งที่น่าสนใจ
1983 DW-5000C G-SHOCK เปิดตัวเป็นครั้งแรกในฐานะนาฬิกาที่มีความทนทานต่อแรงกระแทก
1985 DW-5500C มากับตัวเรือนแบบเหลี่ยม พร้อมความสามารถในการกันฝุ่นและสิ่งสกปรก
1987 DW-5600C เป็นรุ่นที่มียอดขายสูงสุเด และเข้ามาแทนที่นาฬิกาทรงเหลี่ยมอย่างDW-5000C
1989 AW-500 นำเสนอรูปแบบใหม่ของการแสดงผลด้วยการผสมผสานนาฬิกาเข็มกับดิจิตอล
1990 DW-5900C/DW-6000 รุ่นยอดนิยมในญี่ปุ่น และมาพร้อมกับหน้าตาแบบใหม่
1992 DW-6100 รุ่นแรกที่มีการติดตั้งตัววัดอุณหภูมิ
1993 DW-6300 Frogman รุ่นแรกเปิดตัวพร้อมกับการกันน้ำ 200 เมตรตามมาตรฐานนาฬิกาดำน้ำ
1994 “Dolphin & Whale Eco-Research Network” Model นาฬิการุ่นแรกที่เกิดขึ้นจากโปรเจ็กต์ความร่วมมือกับหน่วยงานอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล
1996 G Presents
Lover’s Collection
นาฬิกาคู่แบบแรก (เขาและเธอ) ที่เป็นการจับคู่ระหว่าง G-Shock กับ Baby-G
1996 MRG-1 MR-G รุ่นแรกเปิดตัว
1996 MRG-100 มาพร้อมกับตัวเรือนโลหะล้วนๆ พร้อมเทคโนโลยีการกันกระแทก
1998 DW-9300 นาฬิกากินแสงรุ่นแรกที่ใช้ระบบ Tough Solar
2000 GW-100 นาฬิการุ่นแรกที่ติดตั้งระบบปรับเวลาตามคลื่นวิทยุ หรือ Wave Ceptor
2002 GW-300 นาฬิการุ่นแรกที่มาทั้งระบบ Wave Ceptor และ Tough Solar
2008 GW-9200 นาฬิการุ่นแรกที่ใช้ระบบ Wave Ceptor แบบ Multiband 6 ในการ Sync กับเสาสัญญาณทั้ง 6 เสาทั่วโลก
2008 GS-1200 นาฬิการุ่นแรกที่มาพร้อมกับระบบ   Tough Movement ตัวเรือนแบบบาง แสดงผลด้วยเข็ม ใช้ระบบปรับเวลาตามคลื่นวิทยุ และกินแสง
2010 GW-3000 นาฬิกานักบินรุ่นแรกที่มีความสามารถในการทนทานต่อแรง G ที่เกิดขึ้นจากการเหวี่ยงหนีศูนย์
2012 GW-4000 G-SHOCK รุ่นแรกที่มากับระบบ TRIPLE G RESIST ทนทานต่อแรงกระแทก และแรงสั่นสะเทือน
2012 GB-6900 นาฬิการุ่นแรกที่สามารถเชื่อมต่อกับ Smartphone
2012 GW-A1000 นาฬิการุ่นแรกที่ใช้เม็ดมะยมแบบ Smart Access system
2014 GPW-1000 G-SHOCK รุ่นแรก ที่ปรับเวลาด้วยสัญญาณ GPS และคลื่นวิทยุ
2017 GPW-2000 นาฬิการุ่นแรกที่ใช้ระบบ Connected Engine 3-Way สามารถเชื่อมต่อกับ Smartphone ได้ด้วย