Casio Connected : มิติใหม่ของเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ

0

ต่อไปเราจะได้ยินคำว่า Casio Connected กันมากขึ้น เพราะนี่คือการพัฒนาเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ ให้นาฬิกามีความสามารถมากขึ้นในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่าง Smartphone เพื่อเป็นการยกระดับการทำงาน

Casio Connected : มิติใหม่ของเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ
Casio Connected : มิติใหม่ของเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ

Casio Connected : มิติใหม่ของการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ

- Advertisement -

ช่วงนี้เราอาจจะได้ยินเรื่องของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth ของ Casio กันบ่อย ก็เพราะว่าผลผลิตแรกที่ใช้แนวคิดนี้อย่าง GPW2000 ถูกวางขายอย่างเป็นทางการหลังจากที่เปิดตัวให้เห็นเป็นครั้งแรกในงาน Basel World เมื่อต้นปี 2017 ซึ่งตรงนี้ถือเป็นการพลิกโฉมหน้าของอุตสาหกรรมนาฬิกาอีกครั้งด้วยแนวคิดที่เรียกว่า Casio Connected มิติใหม่ของการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ

คำๆ นี้ถูกยกมาเพื่อสื่อให้เห็นถึงประสิทธิภาพ 3 ด้านของตัวนาฬิกา คือ Self-Charging, Self-Adjusting และ Self-Updating ที่จะเข้าข่ายตรงนี้ ซึ่ง 2 แบบแรกเรารู้จักกันดีผ่านทางนาฬิกาหลายรุ่นของพวกเขา ซึ่งก็คือ ระบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยตัวเองอย่าง Tough Solar ส่วน Self-Adjusting เราคุ้นเคยกันมาแล้วกับระบบ Multiband 6  ที่ปรับเวลาตามคลื่นวิทยุหรือ Atomic Signal และ Smartphone ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบ Bluetooth

ส่วนอันสุดท้าย คื้อ Self-Updating คือ การเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth เข้ากับ Sever เพื่อทั้งการอัพเดทเวลาที่เที่ยงตรงอยู่เสมอ และการอัพเดทข้อมูลสำหรับฟังก์ชั่นต่างๆ ซึ่งตรงนี้คือของใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมาผ่านทางโมดุลที่เรียกว่า ชุดโมดูลระบบเชื่อมต่อแบบ 3 ทาง

จริงๆ แล้วในบ้านเรามีการเปิดตัวนาฬิกาที่ใช้ Bluetooth เชื่อมต่อกันมาระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งในตอนแรก Casio เน้นไปที่นาฬิกาในกลุ่มทำงานอย่าง Edifice ส่วน G-Shock แม้ว่าจะเคยมีทั้งรุ่น DW5600 และ 6900 รวมถึงรุ่น G-Mix แต่เป้าหมายในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพของตัวนาฬิกาผ่านทาง Application หรือการเชื่อมต่อเข้ากับ Server นั้น เราเพิ่งจะมาได้สัมผัสกับ GPW2000 ที่เปิดตัวงานที่ Basel และเพิ่มวางขายในบ้านเราเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

จากโปรเจ็กต์นี้ Casio ได้พัฒนาการแห่งชุดโมดูลระบบเชื่อมต่อแบบ 3 ทาง เจเนอเรชั่นใหม่ของระบบเชื่อมต่อซึ่งถือเป็นระบบปรับเทียบเวลาแบบ 3 ทาง ระบบแรกของโลก

พัฒนาการในด้านนี้ของ Casio ย้อนหลังกลับไปในปี ค.ศ. 1974 เมื่อพวกเขาได้เริ่มเข้าสู่ตลาดนาฬิกาข้อมือด้วย คาสิโอทรอน (CASIOTRON) นาฬิกาข้อมือแบบแรกของโลกที่มาพร้อมกับปฏิทินแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีที่ Casio พัฒนาขึ้นสำหรับเครื่องคิดเลขมาประยุกต์ใช้ด้วยพื้นฐานความคิดว่าค่าเวลานั้นได้มาจากการคำนวณแบบง่ายๆ ของจำนวนวินาทีที่ผ่านไป จากวันนั้นเป็นต้นมา Casio ไม่หยุดยั้งความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์เรือนเวลาที่แสดงเวลาได้อย่างถูกต้องแม่นยำโดยอัตโนมัติพร้อมมอบการแสดงข้อมูลปฏิทิน (เดือน, วันที่, วันของสัปดาห์) อย่างสมบูรณ์แบบ ให้ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้นเสมอมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ด้วยความตระหนักดีว่าเรือนเวลาแบบอัตโนมัติสมบูรณ์แบบนั้นจะต้องแสดงเวลาได้อย่างถูกต้องแม่นยำอยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลก ชุดโมดูลระบบเชื่อมต่อแบบ 3 ทาง แบบใหม่ ซึ่งเป็นระบบปรับเทียบเวลาแบบ 3 ทาง ระบบแรกของโลกนี้ จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สามารถรับสัญญาณปรับเทียบเวลาได้จากทั้งระบบคลื่นวิทยุและระบบ GPS อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับค่าเวลาของ Server ต่างๆ ได้ด้วยการเชื่อมข้อมูลกับโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน

Casio ผสานระบบปรับเทียบเวลาแบบ 3 ทางด้วยตนเอง เข้ากับเทคโนโลยีที่ทำให้ข้อมูลเวลาภายในระบบนาฬิกาสามารถปรับตั้งความถูกต้องของช่วงเวลาตามฤดูกาล (DST – เดย์ไลท์ เซฟวิ่ง ไทม์) และค่าเวลาไทม์โซนของเขตเวลาต่างๆ ได้ด้วยตนเองเมื่อทำการเชื่อมข้อมูลกับ Smartphone ไม่เพียงเท่านั้น โมดูลระบบชุดนี้ยังทำงานด้วยพลังงานจากระบบพลังงานแสง Tough Solar ซึ่งสามารถสร้างพลังงานด้วยตัวเองได้จากเพียงแสงของหลอดไฟฟลูออเรสเซนท์ ด้วยเทคโนโลยีอันยอดเยี่ยมของชุดโมดูลระบบเชื่อมต่อแบบ 3 ทางนี้ จึงทำให้ผู้ใช้สามารถไว้วางใจและใช้ประโยชน์จากนาฬิกาได้มากขึ้น

ด้วยประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของบริษัทในด้านเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน ชุดโมดูลระบบเชื่อมต่อแบบ 3 ทาง ซึ่งมีระบบรับสัญญาณ GPS อยู่ด้วยนี้ จึงใช้พลังงานแค่เพียงหนึ่งในสี่ของระบบรับสัญญาณ GPS โดยทั่วไป อีกทั้งการปรับปรุงพัฒนาอันน่าทึ่งนี้ยังทำให้สามารถใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แบบประจุไฟซ้ำได้ ที่มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมด้วย

นอกจากนี้ ขนาดของเสารับสัญญาณ GPS ยังถูกพัฒนาให้มีขนาดที่เล็กลงกว่าเดิมและสามารถรับสัญญาณได้ไวขึ้น ขณะที่ระบบการรับสัญญาณทั้ง 3 ชนิดนั้นถูกควบคุมและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหน่วยประมวลผลแบบคู่ เพื่อป้องกันการรบกวนซึ่งกันและกัน ชุดโมดูลนี้เป็นการรวมเครื่องมอเตอร์ 6 ชุด กับเครื่องมอเตอร์แบบขดคอยล์คู่อีก 2 ชุด เข้าไว้ด้วยกัน และมีแผ่นเพลทต้านทานแม่เหล็กอยู่ด้วย เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีคุณสมบัติตามมาตรฐานการต้านทานแม่เหล็กของนาฬิกา ISO 764  ส่วนในด้านขนาดของชุดโมดูลใหม่นี้ จะมีความหนาแค่เพียง 90 เปอร์เซ็นต์ ของ ชุดโมดูล GPS Hybrid Wave Ceptor  โดยชุดโมดูลระบบเชื่อมต่อแบบใหม่จะบางลง 0.76 มิลลิเมตร

แน่นอนว่าโมดุลนี้ไม่ได้ถูกพัฒนามาเพื่อการใช้งานเฉพาะแค่ G-Shock เท่านั้น แต่ทาง Casio เองวางแผนในการนำไปใช้กับนาฬิกาในซีรีส์อื่นๆ เช่น OCEANUS และ MR-G อีกด้วย เพื่อความสมบูรณ์แบบในการทำงานที่แม่นยำ